ผลของปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอปีที่ 1 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน Effect of Chemical Fertilizers Coated with Nano Material Controlling Release of Nutrients on Growth and Yield of 1st Ratoon Cane Planted in Kamphaeng Saen Soil Series

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ฤทัยรัตน์ ห้อยสัน
ชัยสิทธิ์ ทองจู
ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย
สิรินภา ช่วงโอภาส
วิยงค์ กังวานศุภมงคล
เกวลิน ศรีจันทร์
อัญธิชา พรมเมืองคุก
สุชาดา กรุณา
ศิริสุดา บุตรเพชร
ชาลินี คงสุด
ธรรมธวัช แสงงาม
ธีรยุทธ คล้ำชื่น

บทคัดย่อ

        The effect of chemical fertilizers coated with nano material controlling release of nutrients on growth and yield of 1st ratoon cane var. Kamphaeng Saen 01-4-29 planted in Kamphaeng Saen soil series was investigated. Plots were arranged in Randomized Complete Block Design (RCBD) consisting of 12 treatments and 3 replications. The study revealed that the application of controlled release-nano chemical fertilizers (CR-NF) formula 12-12-12 of 66 kg/rai/time at 1 and 3 months in combination with 23 kg/rai of CR-NF formula 41-0-0 at 3 months (T4) gave the highest plant height, number of stalks
for one-meter row, leaf greenness, stalk height, stalk diameter and concentrations of N, P, K in stalks. This was not significantly different from the application of controlled release chemical fertilizers (CR-F) formula 16-16-16 of 50 kg/rai/time at 1 and 3 months in combination with 23 kg/rai of CR-F formula
40-0-0 at 3 months (T5) and the application of chemical fertilizers (CF) formula 16-16-16 of 50 kg/rai/time at 1 and 3 months in combination with 20 kg/rai of CF formula 46-0-0 at 3 months (T3). Furthermore, T4 gave the highest fresh yield and sugar yield which was not significantly different from the comparable to T5.


 


บทคัดย่อ


        ศึกษาผลของปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอปีที่ 1 พันธุ์กำแพงแสน 01-4-29 ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (RCBD) ทดลองซ้ำ 3 ครั้ง ประกอบด้วย 12 ตำรับทดลอง ผลการทดลอง พบว่า
การใส่ปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยสูตร 12-12-12 อัตรา 66 กม./ไร่/ครั้ง ที่อายุ
1 และ 3 เดือน ร่วมกับปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยสูตร 41-0-0 อัตรา 23 กม./ไร่ ที่อายุ 3 เดือน (T4) มีผลให้ความสูงของต้น จำนวนลำใน 1 แถวเมตร ค่าความเขียวของใบ ความยาวลำ
เส้นผ่านศูนย์กลางลำ ปริมาณความเข้มข้นของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่สะสมในลำของอ้อยมากที่สุด ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมี (ปลดปล่อยช้าการค้า) สูตร 16-16-16 อัตรา 50 กม./ไร่/ครั้ง ที่อายุ 1 และ 3 เดือน ร่วมกับปุ๋ยเคมี (ปลดปล่อยช้าการค้า) สูตร 40-0-0 อัตรา 23 กม./ไร่ ที่อายุ 3 เดือน (T5) และการใส่ปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดธรรมดาสูตร 16-16-16 อัตรา 50 กม./ไร่/ครั้ง ที่อายุ 1 และ 3 เดือน ร่วมกับปุ๋ยเคมีชนิดเม็ดธรรมดาสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กม./ไร่ ที่อายุ 3 เดือน (T3) นอกจากนี้ T4 ยังมีผลให้ผลผลิตอ้อยสด และผลผลิตนํ้าตาลของอ้อยตอมากที่สุด ไม่แตกต่างกับ T5

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการเกษตร. (2553). คำแนะนำการใช้ปุ๋ยกับพืชเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. (2558). คู่มือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ทางดิน ระบบโสตทัศนูปกรณ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐภัทร ถาวรกิจการ, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, ทศพล พรพรหม, และธีรยุทธ คล้ำชื่น. (2562). ผลของการจัดการปุ๋ยเคมีร่วมกับซิลิคอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยตอ (ปีที่ 1) ที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 2(1), 68-81.

ทัศนีย์ อัตตะนันท์ และจงรักษ์ จันทร์เจริญสุข. (2542). แบบฝึกหัดและคู่มือปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและพืช. กรุงเทพฯ: ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนัฐนันท์ เต็งประเสริฐ, ชัยสิทธิ์ ทองจู, ธวัชชัย อินทร์บุญช่วย, กนกกร สินมา, วิยงค์ กังวานศุภมงคล, เกวลิน ศรีจันทร์, อัญธิชา พรมเมืองคุก,สิรินภา ช่วงโอภาส, สุชาดา กรุณา,ศิริสุดา บุตรเพชร, ชาลินี คงสุด, ธรรมธวัช แสงงาม, และธีรยุทธ คล้ำชื่น. (2563). ผลของปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อยที่ปลูกในชุดดินกำแพงแสน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตรและการจัดการ, 3(2), 47-62

นาวา ทวิชาโรดม, ปิยะ ดวงพัตรา, ปิติ กันตังกุล และจุฑามาศ ร่มแก้ว. (2562). ประสิทธิผลทางการเกษตรและความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจของปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยในอ้อย. วารสารแก่นเกษตร, 47 (2), 259-270.

ปิยะ ดวงพัตรา. (2538). หลักการและวิธีการใช้ปุ๋ยเคมี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ภิญญาพัชญ์ มิ่งมิตร, ชัยสิทธิ์ ทองจู, จุฑามาศ ร่มแก้ว, สราวุธ รุ่งเมฆารัตน์, และธวัชชัย อินทร์บุญช่วย. (2561). ผลของการจัดการปุ๋ยร่วมกับโบรอนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของอ้อย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 7(1), 1-14.

ยงยุทธ โอสถสภา. (2528). หลักการผลิตและการใช้ปุ๋ย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิยงค์ กังวานศุภมงคล, สุวัชชัย จรัสโสภณ, ภาวิณี พงษ์วัน, ธนกร วิรุฬห์มงคล, กนิษฐา บุญภาวาณิชกุล, และกรรณิกา สิทธิสุวรรณกุล. (2557). กรรมวิธีการเตรียมเม็ดปุ๋ยเคมีจากการเคลือบด้วยสารเคลือบชนิดโพลิเมอร์-นาโนเคลย์คอมพอสิทและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีดังกล่าว. สิทธิบัตรไทย เลขที่ 1401003878.

ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). กรรมวิธีการเตรียมเม็ดปุ๋ยเคมีจากการเคลือบด้วยสารเคลือบชนิดโพลิเมอร์-นาโนเคลย์คอมพอสิทและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีดังกล่าว. สิทธิบัตร ไทยเลขที่ 1401003878.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2561). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2559-2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

Bhanuvally, M., Ramesha, Y. M., & Yogeeshappa, H. (2017). Effect of slow releasing nitrogen fertilizers on growth and yield of sugarcane. Int. J. Curr. Microbiol. App. Sci, 6(10), 570-577.

Bray, R. H., & Kurtz, L. T. (1945). Determination of total, organic, and available forms of phosphorus in soils. Soil science, 59(1), 39-46.

Garrett, J., Tubana, B., Kwakye, S., Paye, W., Agostinho, F. B., Forestieri, D., ... & de Santana Martins, M. (2017). Controlled Release Nitrogen Fertilizer and Application Timing: Soil N, Leaf N, and Yield Response in Sugarcane. ASA, CSSA and SSSA International Annual (2017).

Meade, G. P., & Chen, J. C. (1977). Cane sugar handbook. A manual for cane sugar manufacturers and their chemists (10th ed.). New York: John Wiley and Sons.

Morgan, K.T. 2009. Improved fertilizer use efficiency with controlled release sources on sandy soils in South Florida. Southwest Florida Research and Education Center, Florida.

Mullen, R.W. 2011. Nutrient cycling in soils: nitrogen. In Hatfield, J.L., Sauer, T.J. (Eds.), Soil Management: Building a Stable Base for Agriculture. American Society of Agronomy and Soil Science Society of America, Medison, Wl, pp.67-78.

Pratt, P.F. (1965). Potassium. In C.A. Black, (Eds.) Methods of Soil Analysis. Part II. (pp. 1022-1030.) Madison, Wisconsin

Soil Survey Staff. (2003). Key to Soil Taxonomy (9th ed.). (p. 332). Washington, D.C.: United States Department of Agriculture, Natural Resources Conservation Survice.

Verburg, K., Muster, T.H., Zhao, Z., Biggs, J.S., Thorburn, P.J., Kandulu, J., ... & Mardell, J.I. (2017). Roles of controlled release fertilizer in Australian sugarcane system: final report 2014/11. Australia: Sugar Research Australia.

Walkley, A., & Black, I. A. (1934). An examination of the Degtjareff method for determining soil organic matter, and a proposed modification of the chromic acid titration method. Soil science, 37(1), 29-38.

Zwieten, L.V., Rush, J., Rose, T.J., Joseph, S., Beattie, R., Donne, S., ... & Morris, S. (2016). Assessing controlled release and deep placement N fertilizer technologies in subtropical sugarcane. In Proceeding of the 2016 International Nitrogen Initiative Conference. (pp 1-4). Australia: Melbourne.