หมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 สู่ความเข้มแข็งของชุมชนเกษตร | Strengthening Agricultural Community Through Nakhon Sawan 5 Cultivar Maize Seed Village

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สุริพัฒน์ ไทยเทศ
กัญจน์ชญา ตัดโส

บทคัดย่อ

            In the past few years, farmers have tended to invest more on seed purchasing for maize cultivation mainly due to the increase of seed prices, risks from seed shortage in case of natural disasters such as drought and floods. The Department of Agriculture has undertaken the project entitled “Strengthening agricultural communities through Maize Seed Villages in Lower – North of Thailand” from 2020-2021. The project aimed to establish the maize seed villages of Nakhon Sawan 5, a drought-tolerant hybrid cultivar to ensure seed sufficiency among farmers and saving the cost of seed purchasing. The technology of hybrid seed production of this cultivar was transferred to the farmers in 6 provinces namely, Phetchabun, Phitsanulok, Kamphaeng Phet, Sukhothai, Uttaradit, and Tak through training programs. Fifty-nine farmers from 11 villages with a total of 95 rai of agricultural land area joined the project and produced Nakhon Sawan 5 hybrid seeds in 2021 during the rainy season. The farmers were able to produce 20,939 kg of Nakhon Sawan 5 hybrid seeds, which 5,471 kg of seeds were kept for their own use in the following season’s planting, while 15,468 kg of seeds were sold. The hybrid seed price produced by the farmers was 33 to 56 % lower compared to commercial hybrid seed. The farmers were satisfied with the potential of Nakhon Sawan 5 hybrid seed production technology and the performance of their hybrid variety.


บทคัดย่อ


            ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีการลงทุนการผลิตด้านเมล็ดพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาแพง และยังต้องเสี่ยงต่อการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์หากเกิดภัยธรรมชาติ เช่นภัยแล้งและน้ำท่วม กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินโครงการ “สร้างความเข้มแข็งของชุมชนเกษตรผ่านหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมในเขตภาคเหนือตอนล่าง” ดำเนินการปี พ.ศ. 2563-2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 พันธุ์ทนแล้ง เพื่อให้เกษตรกรมีเมล็ดพันธุ์เพียงพอไว้ใช้และลดค่าใช้จ่ายด้านเมล็ดพันธุ์ การดำเนินงานโดยอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมให้เกษตรกรใน 6 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ และตาก มีเกษตรกรเข้าร่วมดำเนินการในโครงการฯ จำนวน 59 ราย ในพื้นที่ 95 ไร่ รวม 11 หมู่บ้าน ได้ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 ในฤดูฝนปี พ.ศ. 2564 ได้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมนครสวรรค์ 5 คุณภาพดี จำนวน 20,939 กิโลกรัม เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเองในฤดูปลูกต่อไป จำนวน 5,471 กิโลกรัม และจำหน่าย จำนวน 15,468 กิโลกรัม เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่เกษตรกรที่ผลิตได้จำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าเมล็ดพันธุ์ลูกผสมการค้า 33-56 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรให้การยอมรับและพอใจศักยภาพของพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม พันธุ์นครสวรรค์ 5

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาพืชศาสตร์ (Plant Sciences )

เอกสารอ้างอิง

กรมวิชาการเกษตร. (2563). เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2565, สืบค้นจาก https://www.doa.go.th/fcri/wpcontent/uploads/2020/tachno/E-Book-4.pdf

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). สรุปเขตเหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำแนกตามรายจังหวัด. กรุงเทพ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กัญจน์ชญา ตัดโส และคณะ (2652). อัตราแถวและวันปลูกสายพันธุ์พ่อแม่ที่เหมาะสมในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5. (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์:ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์.

ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์. (2565). การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมใช้เองหรือเชิงการค้า. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2565, สืบค้นจาก https://www.doa.go.th/fc/nakhonsawan/?p=185

สุทัศนีย์ วงค์ศุปไทย และคณะ. (2560). การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ดีเด่น. (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์: ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ และคณะ. (2561). การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุสั้นเพื่อผลผลิตสูงและทนแล้ง. (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์: ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์.

สุริพัฒน์ ไทยเทศ และคณะ. (2563). ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 อายุเก็บเกี่ยวสั้นและทนทานแล้ง (เอกสารผลงานวิจัยดีเด่นประจำปี 2562). นครสวรรค์: ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (2558). แผนแม่บทยุทธศาสตร์ศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ พ.ศ 2558 - 2567. กรุงเทพ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2564. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, สืบค้นจากhttps://www.opsmoac.go.th/nakhonphanom-dwl-files-431991791110