การจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ในแหล่งปลูกจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

สุภาพร สุขโต
สมบัติ บวรพรเมธี
กำพลศักดิ์ สุขโต
สงัด ดวงแก้ว
ปัญญา พุกสุ่น
นิลุบล ทวีกุล

Abstract

การจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ ได้ดำเนินการในแหล ่งปลูกมันสำปะหลังจังหวัด อุทัยธานี ในช่วงปี พ.ศ. 2556–2559 เพื่อยก ระดับผลผลิตและขยายผลสู ่เกษตรกร โดยการ คัดเลือกพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่ ทดสอบเทคโนโลยี ขยายผลสู ่เกษตรกรและการถ ่ายทอดความรู้ ผลการดำเนินงานจากการคัดเลือกพื้นที่เพื่อทำการ ทดสอบและขยายผล ประกอบไปด้วยบริเวณที่มี พื้นที่ปลูกหนาแน่น ในเขตปริมาณน้ำฝน 1,000- 1,200 มิลลิเมตรต่อปีลักษณะเนื้อดินร่วนปนทราย จำนวน 23 แปลง เนื้อดินทรายจำนวน 7 แปลง เนื้อดินร่วนจำนวน 1แปลงและเนื้อดินทรายปนร่วน จำนวน 9 แปลง รวม 38 แปลง ปัญหาสำคัญของ เกษตรกรในพื้นที่แหล่งปลูก คือเกษตรกรมีการใช้ ปุ๋ยไม่ถูกต้องเหมาะสม ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน และการเลือกพันธุ์ปลูกไม่เหมาะสมกับพื้นที่ จึงได้ นำเทคโนโลยีการจัดการดินและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ การจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ในแหล่งปลูกจังหวัดอุทัยธานี Fertilizer management of cassava production for a specific area in Uthai Thani province ดินและพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ ทดสอบเปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ที่ปลูกปลายฤดูฝนระหว่างปี2556-2558 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 ที่ระยะปลูกระหว่าง ต้น 0.80 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.0 เมตร ก่อนปลูกหว่านปุ๋ยมูลไก่อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถคลุกกับดินและใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตเฉลี่ยและผลตอบแทนรายได้เฉลี่ยเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 58.5 และ 0.5 ตามลำดับ ในปี2559 นำเทคโนโลยีดังกล่าวขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่แหล่งปลูกมันสำปะหลังของจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดสุพรรณบุรีสามารถสร้างเครือข่ายการ เรียนรู้ของเกษตรกรได้5 กลุ่ม ในพื้นที่ 4 อำเภอ ของจังหวัดอุทัยธานีมีจำนวนสมาชิกรวม 155คน มีพื้นที่ปลูกรวม 1,546 ไร่ และถ่ายทอดความรู้ให้ แก่เกษตรในรูปแบบการจัดนิทรรศการ การฝึกอบรมและการจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีรวม 22 ครั้ง มีเกษตรกรและผู้สนในเข้าร่วมงานรวม 3,730 คน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย