การจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ในแหล่งปลูกจังหวัดอุทัยธานี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
บทคัดย่อ
การจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ ได้ดำเนินการในแหล ่งปลูกมันสำปะหลังจังหวัด อุทัยธานี ในช่วงปี พ.ศ. 2556–2559 เพื่อยก ระดับผลผลิตและขยายผลสู ่เกษตรกร โดยการ คัดเลือกพื้นที่ วิเคราะห์พื้นที่ ทดสอบเทคโนโลยี ขยายผลสู ่เกษตรกรและการถ ่ายทอดความรู้ ผลการดำเนินงานจากการคัดเลือกพื้นที่เพื่อทำการ ทดสอบและขยายผล ประกอบไปด้วยบริเวณที่มี พื้นที่ปลูกหนาแน่น ในเขตปริมาณน้ำฝน 1,000- 1,200 มิลลิเมตรต่อปีลักษณะเนื้อดินร่วนปนทราย จำนวน 23 แปลง เนื้อดินทรายจำนวน 7 แปลง เนื้อดินร่วนจำนวน 1แปลงและเนื้อดินทรายปนร่วน จำนวน 9 แปลง รวม 38 แปลง ปัญหาสำคัญของ เกษตรกรในพื้นที่แหล่งปลูก คือเกษตรกรมีการใช้ ปุ๋ยไม่ถูกต้องเหมาะสม ขาดการปรับปรุงบำรุงดิน และการเลือกพันธุ์ปลูกไม่เหมาะสมกับพื้นที่ จึงได้ นำเทคโนโลยีการจัดการดินและปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ การจัดการปุ๋ยมันสำปะหลังเฉพาะพื้นที่ในแหล่งปลูกจังหวัดอุทัยธานี Fertilizer management of cassava production for a specific area in Uthai Thani province ดินและพันธุ์มันสำปะหลังที่เหมาะสมกับพื้นที่ ทดสอบเปรียบเทียบกับวิธีปฏิบัติของเกษตรกร ที่ปลูกปลายฤดูฝนระหว่างปี2556-2558 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11 ที่ระยะปลูกระหว่าง ต้น 0.80 เมตร ระยะระหว่างแถว 1.0 เมตร ก่อนปลูกหว่านปุ๋ยมูลไก่อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถคลุกกับดินและใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ให้ผลผลิตเฉลี่ยและผลตอบแทนรายได้เฉลี่ยเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 58.5 และ 0.5 ตามลำดับ ในปี2559 นำเทคโนโลยีดังกล่าวขยายผลสู่การใช้ประโยชน์ โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่แหล่งปลูกมันสำปะหลังของจังหวัดอุทัยธานี และจังหวัดสุพรรณบุรีสามารถสร้างเครือข่ายการ เรียนรู้ของเกษตรกรได้5 กลุ่ม ในพื้นที่ 4 อำเภอ ของจังหวัดอุทัยธานีมีจำนวนสมาชิกรวม 155คน มีพื้นที่ปลูกรวม 1,546 ไร่ และถ่ายทอดความรู้ให้ แก่เกษตรในรูปแบบการจัดนิทรรศการ การฝึกอบรมและการจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยีรวม 22 ครั้ง มีเกษตรกรและผู้สนในเข้าร่วมงานรวม 3,730 คน