การศึกษาสมบัติดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดดินต่างกันต่อความสามารถ ในการกักเก็บน้ำของดินเนื้อหยาบ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ชาญณรงค์ เขตแดน
อรรณพ พุทธโส
ธงชัย คงหนองลาน
โกศล เคนทะ
อภิชาติ บุญเกษม
วิภาวรรณ อินทร์สมบูรณ์

Abstract

วามสามารถในการกักเก็บน้ำของดิน เป็นสมบัติที่มีความสำคัญต ่อการอนุรักษ์และ จัดการดินและน้ำเพื่อผลิตพืช การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติดินบางประการ และความสามารถในการกักเก็บน้ำของดินที่มี วัตถุต้นกำเนิดดินต่างกัน และพัฒนาสมการทาง คณิตศาสตร์ เพื่อทำนายความสามารถในการ กักเก็บน้ำของดินเนื้อหยาบ ผลการศึกษาพบว่าดิน ที่ใช้ศึกษามีสัดส ่วนของอนุภาคขนาดทรายสูง (637.29-884.00 กรัม/กิโลกรัม) ดินเนื้อหยาบที่มี วัตถุต้นกำเนิดจากตะกอนน้ำพามีความสามารถ ในการกักเก็บน้ำในดินสูงสุด (6.05%) รองลงมา คือหินทรายและหินแกรนิต ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว ่า การเปลี่ยนแปลงของความสามารถ การกักเก็บน้ำในดินมีความสัมพันธ์กับปริมาณ และสัดส ่วนการกระจายตัวอนุภาคขนาดทราย (r = -0.744**) ทรายแป้ง (r = 0.620**) และ ดินเหนียว (r = 0.582**) และจากผลการทำนาย ความชื้นในดินที่ระดับความจุความชื้นสนาม (FC, r 2 = 0.88-0.98) และจุดเหี่ยวถาวร (PWP, r 2 = 0.93-0.96) โดยใช้ปัจจัยขนาดอนุภาคดิน (ทรายและดินเหนียว) ความหนาแน่นรวม และ อินทรียวัตถุในดินแยกแต่ละวัตถุต้นกำเนิด ทำให้ ได้สมการ PTF ที่มีค่าสหสัมพันธ์ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบ จากการทำนายโดยรวมทุกวัตถุต้นกำเนิด (FC, r 2 = 0.89 และ PWP, r 2 = 0.93) โดยเฉพาะดิน ที่สลายตัวจากวัตถุต้นกำเนิดจำพวกหินทราย และ หินแกรนิต ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าดินที่ มีเนื้อดินเดียวกันแต่มีวัตถุต้นกำเนิดต่างกันส่งผล ต ่อความสามารถในการกักเก็บน้ำในดินต ่างกัน ซึ่งถูกควบคุมด้วยความสัมพันธ์ของปัจจัยสมบัติ ทางดินโดยเฉพาะปริมาณและสัดส่วนของอนุภาค ขนาดทรายและดินเหนียว

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย