การศึกษาสมบัติดินที่มีวัตถุต้นกำเนิดดินต่างกันต่อความสามารถ ในการกักเก็บน้ำของดินเนื้อหยาบ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ชาญณรงค์ เขตแดน
อรรณพ พุทธโส
ธงชัย คงหนองลาน
โกศล เคนทะ
อภิชาติ บุญเกษม
วิภาวรรณ อินทร์สมบูรณ์

บทคัดย่อ

วามสามารถในการกักเก็บน้ำของดิน เป็นสมบัติที่มีความสำคัญต ่อการอนุรักษ์และ จัดการดินและน้ำเพื่อผลิตพืช การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติดินบางประการ และความสามารถในการกักเก็บน้ำของดินที่มี วัตถุต้นกำเนิดดินต่างกัน และพัฒนาสมการทาง คณิตศาสตร์ เพื่อทำนายความสามารถในการ กักเก็บน้ำของดินเนื้อหยาบ ผลการศึกษาพบว่าดิน ที่ใช้ศึกษามีสัดส ่วนของอนุภาคขนาดทรายสูง (637.29-884.00 กรัม/กิโลกรัม) ดินเนื้อหยาบที่มี วัตถุต้นกำเนิดจากตะกอนน้ำพามีความสามารถ ในการกักเก็บน้ำในดินสูงสุด (6.05%) รองลงมา คือหินทรายและหินแกรนิต ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว ่า การเปลี่ยนแปลงของความสามารถ การกักเก็บน้ำในดินมีความสัมพันธ์กับปริมาณ และสัดส ่วนการกระจายตัวอนุภาคขนาดทราย (r = -0.744**) ทรายแป้ง (r = 0.620**) และ ดินเหนียว (r = 0.582**) และจากผลการทำนาย ความชื้นในดินที่ระดับความจุความชื้นสนาม (FC, r 2 = 0.88-0.98) และจุดเหี่ยวถาวร (PWP, r 2 = 0.93-0.96) โดยใช้ปัจจัยขนาดอนุภาคดิน (ทรายและดินเหนียว) ความหนาแน่นรวม และ อินทรียวัตถุในดินแยกแต่ละวัตถุต้นกำเนิด ทำให้ ได้สมการ PTF ที่มีค่าสหสัมพันธ์ที่สูงขึ้นเมื่อเทียบ จากการทำนายโดยรวมทุกวัตถุต้นกำเนิด (FC, r 2 = 0.89 และ PWP, r 2 = 0.93) โดยเฉพาะดิน ที่สลายตัวจากวัตถุต้นกำเนิดจำพวกหินทราย และ หินแกรนิต ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าดินที่ มีเนื้อดินเดียวกันแต่มีวัตถุต้นกำเนิดต่างกันส่งผล ต ่อความสามารถในการกักเก็บน้ำในดินต ่างกัน ซึ่งถูกควบคุมด้วยความสัมพันธ์ของปัจจัยสมบัติ ทางดินโดยเฉพาะปริมาณและสัดส่วนของอนุภาค ขนาดทรายและดินเหนียว

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
บทความวิจัย