การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลจากหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี The Feasibility Study of Investment on Biomass Power Plant from Napier Pakchong 1 Grass Amphoe Muak Lek Changwat Saraburi

Main Article Content

ดวงใจ จีนานุรักษ์
พิษณุวัฒน์ ทวีวัฒน์

Abstract

การศึกษาเรื่องความเป็นไปได้ในการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาด 1 เมกะวัตต์โดยใช้หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นเชื้อเพลิง ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 12) ศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค และศึกษาความเป็นไปได้ด้านการเงิน การเงิน เครื่องมือที่ใช้ คือ ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (WACC) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายในทั้งก่อนและหลังการปรับค่าแล้ว (IRR, MIRR) ดัชนีกำไร (PI) การทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน (SVT) และ 3) ศึกษาอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ที่เหมาะสมของโครงการ โดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์เชิงลึกกับที่ปรึกษาการสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ผู้เชี่ยวชาญด้านหญ้าเนเปียร์ และเกษตรกรที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ ผลการศึกษา พบว่า ในพื้นที่นี้มีการปลูกหญ้า ประมาณ 500 ไร่ และให้ผลผลิต 60-80 ตันต่อไร่ต่อปี การปลูกครั้งหนึ่งสามารถเก็บเกี่ยวได้นาน 6-7 ปี หญ้าเนเปียร์ที่นำมาเป็นเชื้อเพลิง ใช้ปริมาณหญ้าเท่ากับ 35,837 ตันต่อปี เมื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน โดยกำหนดอายุโครงการ 26 ปี ที่ต้นทุนเงินทุนร้อยละ 9.91 โดยพบว่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ -51,853,492 บาท อัตราผลตอบแทนภายในโครงการก่อนและหลังการปรับค่าเท่ากับร้อยละ 0.29 และ 6.61 ต่อปี ตามลำดับ และดัชนีกำไรเท่ากับ 0.45 สามารถสรุปผลการศึกษาได้ว่าโครงการไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุน แต่ถ้ารัฐบาลจะสนับสนุนควรจะเพิ่มอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) จาก 0.50 บาท เป็น 2.03 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง


The objectives of this feasibility study of investment on Biomass Power Plant using Napier Pakchong 1 grass as energy source in Amphoe Muaklek, Changwat Saraburi were 1) to study the general natures and conditions of Napier Pakchong 1 grass; 2) to examine the technical feasibility and financial feasibility, of which the analytical tools used in this study were Weighted Average Cost of Capital (WACC), Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return (IRR), Modified Internal Rate of Return (MIRR), Profitability Index (PI) and Switching Value Test (SVT)and; 3) to consider the suitable adder of the purchase price for electricity generated from the project. The data collection method arises from the use of primary data collected through the use of participatory observation method and from the in-depth interviews with biomass power plant consultants, Napier grass specialist and farmers. The result of the study showed that with the approximate area of 500 Rais used to cultivate Napier Pakchong 1 grass, an average yield 60 to 80 tons per Rai per year can be realized. In addition, each crop could be harvested for as long as 6-7 years. Therefore, the Napier Pakchong 1 grass plantation can provide a total amount of Napier grass to be used as fuel at 35,837 tons per year. The outcome of financial feasibility analysis, based on the project life of 26 years and the cost of capital investment at 9.91 percent, showed that the NPV of the project is amounted to -51,853,492 baht, with the IRR and the MIRR at 0.29 percent and 6.61 percent per year, respectively; and the PI was at 0.45. As such, it could be concluded that the project is deemed infeasible for investment. However, should the government commit to support the project, the adder should be increased from 0.50 Baht to 2.03 Baht per kilowatt-hour.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จีนานุรักษ์ ด., & ทวีวัฒน์ พ. (2014). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวลจากหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี: The Feasibility Study of Investment on Biomass Power Plant from Napier Pakchong 1 Grass Amphoe Muak Lek Changwat Saraburi. Journal of Applied Economics and Management Strategy, 1(2), 43–51. Retrieved from http://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/968
Section
บทความวิจัย (Research Article)

Most read articles by the same author(s)