เกษตรพันธะสัญญากับความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกร: กรณีการเลี้ยงไก่และหมูในเขตภาคกลาง Contract Farming and Income Stability of Farmers: A Case of Chicken and Pig Raising in Central Region

Main Article Content

อภิญญา วนเศรษฐ

Abstract

การศึกษาเกษตรพันธะสัญญากับความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรพันธะสัญญาไก่และหมูในประเทศไทย 2) วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกร ประกอบด้วย ข้อมูลข่าวสาร การตลาด การรับความเสี่ยง การบริหารจัดการด้านคุณภาพ และ ควบคุมต้นทุนการผลิต รวมทั้งการปฏิบัติตามสัญญาของคู่สัญญา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกร


สำหรับวิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาเกี่ยวกับแนวคิดของเกษตรพันธะสัญญา ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และสภาพทั่วไปของเกษตรพันธะสัญญาในปัจจุบัน  2) การวิเคราะห์จากการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำเกษตรพันธะสัญญา ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยง บริษัทเอกชนผู้ว่าจ้าง และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในพื้นที่ 3 จังหวัดประกอบด้วย ลพบุรี ชัยนาท และระยอง ทั้งนี้การเลือกเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวจะเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยประกอบด้วยทั้งเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จหรือมีกำไรและเกษตรกรผู้ขาดทุน เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้


ผลการศึกษาพบว่า 1) ในปัจจุบันการทำเกษตรพันธะสัญญาในพื้นที่ที่ศึกษามีแนวโน้มการขยายตัวเพียงเล็กน้อย โดยการขยายกำลังการผลิตส่วนใหญ่มาจากเกษตรกรรายเดิมที่อยู่ในระบบเกษตรพันธะสัญญา และมีเกษตรกรรายใหม่เพิ่มจำนวนขึ้นเพียงเล็กน้อย 2) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความมั่นคงทางรายได้ของเกษตรกรส่วนหนึ่งเกิดจาก “ช่องว่าง” ในด้านต่างๆ อาทิ ความไม่เท่าเทียมกันของสารสนเทศ เกิดจากความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ไม่เท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญา โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับรู้ข้อมูลมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาในการเลือกผิดพลาด (Adverse Selection) และปัญหาพฤติกรรมแฝง (Moral Hazard) ตามมา หรือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับคู่สัญญานั้นส่วนหนึ่งก็มาจากความได้เปรียบเสียเปรียบจากเงื่อนไขในสัญญาที่ไม่เป็นธรรม การขาดคุณธรรมจริยธรรมและความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตน รวมทั้งอำนาจในการต่อรองที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ใม่มีทางเลือกมากนักในการประกอบอาชีพ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบด้านลบมากจากข้อจำกัดในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยได้ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ และในที่สุดนำไปสู่ความไม่มั่นคงทางรายได้บางรายต้องประสบกับการขาดทุน ในขณะที่เกษตรกรรายใหญ่มีปัญหาน้อยกว่า อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้มีความแตกต่างจากการศึกษาเกี่ยวกับเกษตรพันธะสัญญาในอดีต ที่ศึกษาประเด็นต่างๆ เช่น ผลกระทบจากการทำเกษตรพันธะสัญญา ความไม่เป็นธรรม การได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคู่สัญญา ความเสี่ยงและผลตอบแทน เป็นต้น ในลักษณะภาพรวม ในขณะที่จุดเด่นของการศึกษานี้นอกจากจะเป็นการวิเคราะห์ “ช่องว่าง” ในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์แล้วยังได้วิเคราะห์โดยแบ่งคู่สัญญาออกเป็นกลุ่ม เช่น เกษตรกรรายใหญ่ เกษตรกรรายย่อย บริษัทเอกชนรายย่อย และบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อให้เห็นรายละเอียดในเรื่องที่ศึกษาชัดเจนขึ้น


The objectives of this research were two-fold. Firstly, it explored a general current situation of contract farming business involvement. Secondly, it analyzed the factors affecting economic performances arising from such contract farming including flow of information, marketability, risk bearing, quality and operational cost control, contractual enforcement and various policies on contract farming considered impacting on the income stability of the farmers.


This study employed both primary and secondary data to analyze the detailed information from a field survey, literature reviews, and various economic theoretical and concepts. For research methodology, through the field survey, the research carried on focus group meeting and in-depth interview to the involved persons including herders, representatives from private agribusiness and the government officials. Three different sites of various economic environments were selected including Lopburi, Chainat, and Rayong. The purposive sampling technique was employed by selecting the sample of farmers who were both successful and unsuccessful in contract farming business.


The results of this study showed that 1) the growth of contract faming business in the selected sites was not substantial. Only a newly few contract farming agriculturalists entered the projects. 2) Problems arising from various “gap” included the accessibility to asymmetric information which led to the adverse selection and moral hazard. Risk problems also rooted from the injustice in the contractual agreement. Lack of integrity among the various parties and the difference in bargaining of power will also led to the negative impacts on the output and income earning. The small farmers seemed to be the most vulnerable by the changing circumstance created by these factors leading to their income instability. Concurrently, some problems were found among large scale farmers. However, the results of this study are different from the previous studies showing as the total basis, including the impacts of contract framing on various injustices, the disadvantage among various groups of various contractual agreements, risk and return. The major strengths of this study were not only to focus upon “the gap” in economic behavior but also classified various sizes of famers and buyers i.e. large and small scale farmers. This is to provide more detailed information and in-depth analysis.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)