Factors Affecting Post-Retirement Working Demand and Attitude Toward Work of Nearly Retired Workers in Chiang Mai Province ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุและทัศนคติต่อการทำงาน หลังเกษียณอายุของผู้เตรียมเกษียณอายุในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

Pacharaporn Arkornsakul

Abstract

บทคัดย่อ


         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุของกลุ่มผู้ที่เตรียมเกษียณอายุในจังหวัดเชียงใหม่ และ (2) ศึกษาทัศนคติต่อการทำงานภายหลังเกษียณอายุของผู้เตรียมเกษียณอายุในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้เตรียมเกษียณอายุงานในจังหวัดเชียงใหม่ที่มีอายุระหว่าง 55-59 ปี จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองโลจิต (Logit Model) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการทำงานหลังเกษียณอายุของกลุ่มผู้ที่เตรียมเกษียณอายุในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือน รายได้ต่อเดือน และภาระหนี้สิน สำหรับปัจจัยด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส การให้เงินแก่บุตร/หลาน และสภาวะสุขภาพไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับผลการศึกษาทัศนคติต่อการทำงานภายหลังเกษียณอายุของผู้เตรียมเกษียณอายุ พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการให้มีการจ้างงานครึ่งเวลา มีการกำหนดอัตราค่าจ้างใหม่สำหรับแรงงานผู้สูงอายุ ผู้เตรียมเกษียณอายุส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการที่ภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมการมีงานทำในผู้สูงอายุโดยให้เหตุผลถึงความจำเป็นทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก รองลงมาคือสวัสดิการที่ภาครัฐจัดสรรให้แก่ผู้สูงอายุไม่เพียงพอ


คำสำคัญ: แรงงานผู้สูงอายุ เกษียณอายุ ทัศนคติต่อการทำงาน


ABSTRACT


         This research aimed to (1) analyze factors affecting the post-retirement working demand of the nearly retired workers in Chiang Mai province, and (2) study the attitude toward work of nearly retired workers in Chiang Mai province.  The samples were 400 nearly retired workers aged between 55 to 59 years old.  The data were collected by using questionnaires and analyzed by Logit Model.  The results showed that the factors affecting the post-retirement working demand of the nearly retired workers in Chiang Mai province were education level, number of household members, monthly income, and liabilities. Factors like gender, age, marital status, financial support for children, and health status were not statistically significant in this study. For the attitudes toward work of nearly retired workers in Chiang Mai province, it was found that most of the nearly retired workers preferred half-time employment and would like the government to set the new wage rates for elderly workers. Moreover, the nearly retired workers agreed with the government's measures to promote employment among the elderly to ensure economic security given insufficient welfare from the government.


Keywords: Elderly Workers, Retirement, Attitude Toward Work


เอกสารอ้างอิง (References)


กรมการปกครอง. (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2564 จากhttp://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage


กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี พ.ศ.2561-2580. กรุงเทพฯ: สามลดา.


กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). รายงานสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: สามลดา.


เฉลิมพล แจ่มจันทร์ และสุภนต์ จรัสสิทธิ์. (2563). โครงการสถานการณ์และแนวโน้มสภาพการทำงานของผู้สูงอายุไทย: การวิเคราะห์จากข้อมูลการสำรวจระดับประเทศ. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.


ชลธิชา อัศวนิรันดร และคณะ. (2563). โครงการรูปแบบการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนไทย: ความยืดหยุ่น ผลิตภาพ และการคุ้มครอง. วิทยาลัยประชากรศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ได้รับทุนสนับสนุนโดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.


ชลัยพร อมรวัฒนา และคณะ. (2551). รายงานโครงการศึกษาวิจัยแนวทางและ มาตรการส่งเสริมการมีงานทำในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษย์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25-35.


เดชาวัต คงคาน้อย, บรรพต วิรุณราช และธีทัต ตรีศิริโชติ. (2562). แนวทางการจัดงบประมาณผู้สูงอายุที่เหมาะสมของประเทศไทย. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 12(2), 237-261.


ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). สังคมสูงวัยกับความท้าทายของตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก http://bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/AgePeriod Cohort.pdf


ธาราทิพย์ พ่วงเชียง. (2555). ความต้องการทำงานของผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).


นงนุช สุนทรชวกานต์ และสายพิณ ชินตระกูลชัย. (2552). การสร้างโอกาสการทำงานของผู้สูงอายุ. ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2559 จาก http://thaitgri.org/images/document/Research_tgri/WorkResearch.pdf


ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การวิจัยการตลาด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.


พัชรพงศ์ ชวนชม, ธีระวัฒน์ จันทึก, และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). ลักษณะงานที่เหมาะสมกับแรงงานผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลอลงกรณ์ในพระราชูปถัมภ์, 13(1), 107-116.


รัชพล อ่ำสุข. (2558). การทำงานของผู้สูงอายุไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).


สมรักษ์ รักษาทรัพย์, ถวิล นิลใบ, และนงนุช อินทรวิเศษ. (2551) โครงการนำร่องศึกษาความเหมาะสม ในการทำงานของแรงงานหลังเกษียณอายุ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


สโรชา เกษมโสตร์. (2562). ปัจจัยที่ส่งเสริมการทำงานต่อหลังวัยเกษียณ. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566 จาก https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/309455.pdf


สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/Forms/AllItems.aspx


สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2563). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2553-2583. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566 จาก https://opendata.nesdc.go.th/dataset/3d52c7fd-b4d1-4040-aeaa-903639fc854c/resource/5f575779-78dd-4b0e-b41a-f3f79c6344bb/download/5.-..pdf


สุภาพร ยั่งยืน และปริณภา จิตราภัณฑ์. การตัดสินใจทำงานของข้าราชการพลเรือนหลังเกษียณอายุราชการ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2 (หน้า 662-676). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.


อัมภิณี ลาภสมบูรณ์ดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 42(3): 18-33.


อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร. (2560). ผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2566 จาก http://bangkokbiznews.com/blog/detail/


Amilon, A., & Nielsen, T. H. (2010). 9. How does the option to defer pension payments affect the labour supply of older workers in Denmark?. Working and ageing.


Arkornsakul, P., Puttitanun, T., & Jongadsayakul, W. (2020). Labor Supply Intention of the Elderly in Thailand. Chiang Mai University Journal of Economics, 24(2), 1-16.


Borjas, G. J. (2013). Labor economics. 6th edition. New York, NY: McGraw-Hill/Irwin.


Dingemans, E., & Henkens, K. (2019). Working after retirement and life satisfaction: Cross-national comparative research in Europe. Research on Aging, 41(7), 648-669.


Feldman, D. C., & Beehr, T. A. (2011). A three-phase model of retirement. American Psychologist, 66(3), 193-203.


Fisher, G. G., Chaffee, D. S., & Sonnega, A. (2016). Retirement timing: A review and recommendations for future research. Work, Aging and Retirement, 2(2), 230-261.


Gujarati, D. N. (2004). Basic Econometrics. New York: the McGraw-Hill Companies. Inc.


Gustman, A. L., & Steinmeier, T. (2009). How changes in social security affect recent retirement trends. Research on Aging, 31(2), 261-290.


Henkens, K., & van Solinge, H. (2021). The changing world of work and retirement. In Handbook of aging and the social sciences (pp. 269-285). Academic Press.


Horioka, C. Y., Morgan, P. J., Niimi, Y., & Wan, G. (2018). Aging in Asia: Introduction to symposium. Review of Development Economics, 22(3), 879-884.


Kim, S. (2016). Factors affecting employment retention among older workers in South Korea. Working with Older People, 20(1), 14-22.


Lepisto, D. A., & Pratt, M. G. (2017). Meaningful work as realization and justification: Toward a dual conceptualization. Organizational Psychology Review, 7(2), 99–121.


Maestas, N. (2010). Back to work expectations and realizations of work after retirement. Journal of Human Resources, 45(3), 718-748.


Misdawita, M., & Utami, B. C. (2022). Analysis of Factors Affecting the Income of Working Women. International Journal of Management and Business Applied, 1(2).


Nilsson, K. (2016). Conceptualisation of ageing in relation to factors of importance for extending working life–a review. Scandinavian Journal of Public Health, 44(5), 490-505.


Ogawa, N., Mansor, N., Lee, S. H., Abrigo, M. R., & Aris, T. (2021). Population aging and the three demographic dividends in Asia. Asian Development Review, 38(1), 32-67.


Patimah, S., Rusydi, G., & Kesuma, I. M. (2023). The Effect of Capital Quantity and Education Level on Income of Grocery Traders at Lubuklinggau Inpres Market. In Proceedings International Conference on Business, Economics & Management, 1(1), 73-80.


Shimizutani, S. (2011). A new anatomy of the retirement process in Japan. Japan and the World Economy, 23(3), 141-152.


Stock, J. H., & Wise, D. A. (1990). Pensions, the option value of work, and retirement. Econometrica, 58(5), 1151-1180.


Szinovacz, M. E., & DeViney, S. (2000). Marital characteristics and retirement decisions. Research on aging, 22(5), 470-498.


United Nations. (2015). World Population Ageing 2015. Department of Economic and Social Affairs Population Division.


Yang, Y. (2011). No way out but working? Income dynamics of young retirees in Korea. Ageing & Society, 31(2), 265-287.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)