ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ ตราโกโก้เมาน์เทน
Influential marketing factors toward the consuming of an instant beverage: Cocoa mountain brand
Keywords:
ปัจจัยทางการตลาด;การตัดสินใจ;เครื่องดื่มปรุงสำเร็จ, Marketing factors;Instant;BeverageAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อวิจัยถึงปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ ประการที่ 2 เพื่อวิจัยพฤติกรรมของผู้บริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ ประการที่สาม เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ ประการที่สี่ เพื่อวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด กับความสำคัญของการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จด้วยสถิติ t-test และ F-test ค่าความแตกต่างเฉลี่ยรายคู่ (LSD) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.90 มีอายุ 10-30 ปี ร้อยละ 36.80 มีระดับการวิจัยสูงสุดมัธยมตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 25.10 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 55.00 มีอาชีพรับจ้างร้อยละ 32.20 และ มีรายได้เฉลี่ย ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 47.40 ต่อเดือน มีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ คือ ดื่มทุกวัน โดยบริโภคจำนวน 1 ซอง/วัน ช่วงเวลาที่ดื่มคือ 05.00 น. - 07.00 น. และนิยมซื้อเครื่องดื่มปรุงสำเร็จจากร้านสะดวกซื้อ ส่วนปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มปรุงสำเร็จ ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านผลิตภัณฑ์ มากที่สุดในทุกเรื่อง ในเรื่องของความจงรักภักดีต่อตราสินค้าที่ซื้อรองลงมาคือเรือ่งคุณภาพของเครื่องดื่มปรุงสำเร็จสามารถตอบสนองความต้องการได้ ปัจจัยรองลงมา คือ การส่งเสริมการขาย ในเรื่องของการจัดรายการส่งเสริมการขายทำให้ซื้อสินค้าทีละมากขึ้นกว่าปกติ สินค้ามีการจัดการส่งเสริมการขายเป็นประจำ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และจัดให้มีการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการถูกแย่งส่วนแบ่งตลาด และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าให้เกิดความจงรักภักดีกับสินค้าขององค์กรอย่างไม่เสื่อมคลาย
The objectives of this research were to: firstly, study marketing-mix factors that affected toward the consuming of an instant beverage, secondly, study the consuming behaviors of an instant beverage, thirdly, compare between personal factors and the consuming behaviors of an instant beverage and fourthly, study the relationship between marketing-mix factors and the consuming of an instant beverage. Questionnaires were used as the tools in the data collection, 400 samples. The statistics used in the analysis were descriptive which included Frequency, Percentage, Mean toward the consuming of an instant beverage. The inferential statistics included independent samples T-test, F-test and LSD with 95 per cent of reliability at the statistically significant of the 0.05 level. It was found that the majority of the sample were male 56.90 per cent, aged between 10-30 36.80 per cent, having education in the high school/diploma of vocational education 25.10 per cent, married 55.00 percent, whose occupations were general wage earners 32.20 per cent, with income less than 10,000 baht/month 47.40 percent. Their consumption behaviors of instant beverage were that they drank it everyday; one packet/day; the period of drinking was 5-7am; they bought the beverage from convenience stores. As for marketing factors that played a role in their decision-making in choosing the beverage for consumption, brand loyalty was the most important aspect, followed by the beverage quality which needed to meet their needs. The following factors were sales promotion of the product which allowed consumers to purchase in greater amount each time; sales promotion should be arranged more regularly. Consequently, it was suggested that the entrepreneur had to stress the importance of the product and to arrange sales promotion more continuously so as to prevent any loss in market share of the product and to increase customers’ satisfaction of the product as well as promoting brand loyalty in the long run.