การออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว กรณีศึกษา: ท่าอากาศยานเลย จังหวัดเลย

Cultural landscape design for tourism: A case study of Loei Airport, Loei Province

Authors

  • พิชญ์จิรา อุ่นใจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
  • วรรักษ์ สุเฌอ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • วรรักษ์ สุเฌอ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • พิมพ์อมร นิยมค้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
  • ลัดดาพร กุลแก้ว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

Keywords:

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม;การออกแบบภูมิทัศน์;การท่องเที่ยว;มรดกทางวัฒนธรรม;ท่าอากาศยานเลย, Cultural Landscape;Landscape Design;Tourism;Cultural heritage;Loei Airport

Abstract

ท่าอากาศยานเลยในปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวของผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น จนไม่สามารถรองรับปริมาณของผู้ใช้บริการได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งสถาปัตยกรรมของอาคารผู้โดยสารยังขาดเอกลักษณ์ที่สื่อถึงวัฒนธรรมในจังหวัดเลย การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนวัฒนธรรมในจังหวัดเลยและสำรวจคุณค่าความสำคัญของทุนวัฒนธรรมในเชิงเศรษฐมิติ จนสามารถเสนอแนวทางในการออกแบบภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับทุนทรัพยากรทางการท่องเที่ยวได้ โดยการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และผู้ใช้บริการท่าอากาศยานเลย หลังจากนั้นจึงได้ออกแบบพื้นที่ดังต่อไปนี้ 1) สวนไม้ดอกไม้ประดับภายนอกอาคารท่าอากาศยาน 2) อาคารท่าอากาศยานและหอควบคุมการบิน (ภายนอก) ซึ่งผลที่คาดว่าได้รับคือการนำเสนอคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับพื้นที่ เพื่อให้ท่าอากาศยานเลยเปรียบเทียบเสมือนประตูสู่จังหวัดเลยที่จะสร้างความประทับใจและแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดเลย ทำให้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวนั้นมีความสึกร่วม เกิดความตระหนักและภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดเลย

Loei Airport has a growth rate of passengers and encounters the difficulty of handling the larger volume of passengers adquately. the architecture of the terminal presents lack of local identity and cultural interpretion. The objectives of this research are to study cultural value of Loei province as well as to evaluate the value of cultural capital in ecometrics. It is proposed to design a cultural landscape for tourism in line with the capital resources. The research was conducted by employing site survey and in-depth interviews with staff and passengers at Loei Airport. The gathered information and analysis are leading to develop a guideline for designing Loei airport's cultural and economic values which elevate local identity and enrich tourist impression, awareness and pride of local culture of Loei province.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-12-31