กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี: ความสำเร็จและความท้าทายในการนำนโยบายไปปฏิบัติ

Thai women empowerment funds: Success and challenge in policy implementation

Authors

  • ปิยะนุช เรืองโพน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
  • เตชทัช คลายโศกก์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

Keywords:

กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี;นโยบายสาธารณะ;การนำไปปฏิบัติ, Thai women empowerment funds;Public policy;Policy implementation

Abstract

นโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เป็นนโยบายที่รัฐบาลได้กำหนดเป็นวาระเร่งด่วนที่จำเป็นต้องดำเนินการภายในปีพ.ศ. 2555 โดยจัดตั้งเป็นกองทุนที่มีมูลค่ากว่า 7,7000 ล้านบาท สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำหรือปลอดดอกเบี้ยในการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เพื่อพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพ และสวัสดิการให้แก่สตรี การพัฒนาสตรีและเครือข่ายสตรี การสร้างภาวะผู้นำ และการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ์ให้กับสตรีอันเป็นนโยบายที่มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีในทุกมิติตั้งแต่ด้านสังคม เศรษฐกิจ และพัฒนาศักยภาพของสตรีในทุกๆ ด้าน เพื่อให้นโยบายเกิดการขับเคลื่อนในจังหวัดต่างๆ จึงได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดทั้งหมด 77 กองทุน ซึ่งนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อบทบาทคุณภาพชีวิตของสตรีไทยเป็นอย่างมาก สำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติ อันถือว่าโครงการดังกล่าวเป็นนโยบายสาธารณะที่สำคัญของรัฐบาลสำหรับการนำเสนอเนื้อหาของบทความนี้ ได้กล่าวเชื่อมโยงตามความหมายและการจำแนกประเภทของนโยบายสาธารณะกับนโยบายดังกล่าว จากนั้นได้กล่าวถึงสาระสำคัญพื้นฐานของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ขั้นตอนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และในประการสุดท้ายได้วิเคราะห์ถึงตัวแบบการนำนโยบายไปปฏิบัติซึ่งเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้นโยบายนั้นมีโอกาสประสบความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติมากขึ้นหรือมีโอกาสล้มเหลวน้อยลง

A policy of Thai Women Empowerment Funds (TWEFs) is considered one of the urgent agendas supported by the government. Recently, the TWEFs values 7,700-million Baht and its primary goal are to provide funds for occupations for women and to give the opportunity for them to access the finance with low interest or interest-free. The initiation of the TWEFs enables women to earn their living, and in turn, it can lead them to benefits and well-being. The policy of development women and women\\\'s welfare network is appropriate and has an impact on women regarding society, economics, and performance. There are 77 TWEFs implemented to provinces; however, there is some factor that hinders the success of TWEFs. This study aims to investigate the implementation of the TWEFs’ policy. In particular, the definition, significance of the TWEFs and identification of the TWEFs’ policy and public policy are discussed. Besides, procedures and analysis of the implementation of the TWEFs are involved. The study also includes a model of policy implementation as the main analysis in which it helps analyze the factors that hinder or promote the success of the implementation of TWEFs.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-12-31

Issue

Section

บทความวิชาการ