ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

Customer’s satisfaction toward music streaming application in Bangkok

Authors

  • อนิรุธท์ ใจดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะการบริหารและจัดการ
  • ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะการบริหารและจัดการ

Keywords:

ดนตรี, สตรีมมิ่ง, แอพพลิเคชัน, Music;Streaming;Application

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งในเขตกรุงเทพมหานครและ (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ที่ใช้หรือเคยใช้บริการแอพพลิคเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้การวิเคราะห์ One-way ANOVA ในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งในเขตกรุงเทพมหานครอยู่ในระดับมาก 2. ผู้ใช้บริการที่มีอายุแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพแตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ส่วนผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ แตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อแอพพลิเคชันมิวสิคสตรีมมิ่งไม่แตกต่างกัน

The objectives of this research were (1) to study the customer’s satisfaction level of music streaming application in Bangkok and (2) to compare the customer’s satisfaction level of music streaming application in Bangkok by personal factors Samples are 400 users who use music streaming application in Bangkok, was drawn through purposive sampling method. Questionnaires were used as research instrument and data were analysed by statistical program. The statistics used in this study were percentage, arithmetic mean, standard deviation and One-way ANOVA were used to test the hypotheses. The results showed that 1) The customer’s satisfaction level was at high level. 2) Customer with different age had statistically significant difference in the satisfaction level regarding responsiveness at the level of 0.05 and customer with different education had statistically significant difference in satisfaction level regarding responsiveness at the level of 0.05. In addition, customer with different occupation had statistically significant difference in satisfaction level regarding responsiveness at the level of 0.05.When considered other personal factors, there were no difference in the satisfaction level

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย