สมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัล: ทักษะการปรับตัวในโลกที่เปลี่ยนแปลง|THE DIGITAL ACCOUNTANTS’ COMPETENCY: ADAPTIVE SKILLS IN A TRANSFORMED WORLD

Authors

  • ประสุตา นาดี
  • ธุวพร โคนพันธ์
  • กมลลักษณ์ มาตราช
  • ทัศนัย นาทัน
  • ตวัน ทัศนบรรลือ
  • ปานชีวา กุลีสูงเนิน
  • ศุภาพิชญ์ ตรงวัฒนาวุฒิ
  • บุษยมาส เทียนกระจ่าง
  • พรพิมล หว่างพัฒน์
  • ศุภกัญญา ภูทองกิ่ง

Keywords:

สมรรถนะ, นักบัญชี, ทักษะ, ยุคดิจิทัล

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับทักษะการปรับตัวของนักบัญชีในยุคดิจิทัล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการปรับตัวของนักบัญชีกับสมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัล ซึ่งทักษะการปรับตัวของนักบัญชีในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะด้านการเป็นคู่คิดผู้บริหาร ทักษะด้านการบริหารจัดการอารมณ์และความคิด และทักษะด้านการเรียนรู้เชิงพลวัต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักบัญชีที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีในประเทศไทย จำนวน 400 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบสะดวก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลจากการศึกษา พบว่า นักบัญชีให้ความสำคัญกับทักษะการปรับตัวในยุคดิจิทัลอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยให้ความสำคัญกับทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ทักษะด้านการเป็นคู่คิดผู้บริหาร ทักษะด้านการเรียนรู้เชิงพลวัต และทักษะด้านการบริหารจัดการอารมณ์และความคิด และพบว่าทักษะการปรับตัวทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับสมรรถนะของนักบัญชีในยุคดิจิทัล โดยทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสัมพันธ์สูงที่สุด (β = 0.454, p < 0.01) รองลงมาคือ ทักษะการเป็นคู่คิดผู้บริหาร (β = 0.398, p < 0.01) ทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัต (β = 0.356, p < 0.01) และทักษะการบริหารจัดการอารมณ์และความคิด (β = 0.290, p < 0.01) ตามลำดับ ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะบัญชีขององค์กรวิชาชีพและสถาบันการศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2021-12-28

Issue

Section

บทความวิจัย