Guideline to Increase home loan sales under the debt consolidation scheme (Ban Dee Nee Bao) a case study of Government Savings Bank Phang Khon Branch, Sakon Nakhon Province.

Main Article Content

Sutthirak Sutthiarj
Pitsamorn Kilenthong

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
            การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยแบบผสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบา 2) วิเคราะห์หาสาเหตุและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบา 3) เพื่อวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยมุ่งเน้นการเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบา ให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างลูกค้าสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน กับธนาคารออมสินสาขาพังโคน จำนวน 279 ราย และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรด้านสินเชื่อของธนาคารออมสินสาขาพังโคน จำนวน 2 คน และกลุ่มลูกค้าที่มีหลักประกันกับธนาคารออมสินสาขาพังโคน จำนวน 5 คน รวม 7 คน วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจที่จะทำให้เลือกใช้บริการสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบากับธนาคารออมสิน  สาขาพังโคนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบามากที่สุดคือ การติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคารออมสินด้านเงินฝาก เช่น ฝากเงิน ถอนเงิน สลากออมสิน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ และด้านกระบวนการให้บริการ ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบามากที่สุด ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบามากที่สุดคือ วงเงินกู้สูงสุดที่ธนาคารอนุมัติ 2) สาเหตุของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบาประกอบด้วย (1) ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่                    ขาดความเข้าใจในการกรอกเอกสารต่าง ๆ และการขอสินเชื่อ (2) ปัจจัยภายในของธนาคาร พบว่า กระบวนการให้บริการด้านเอกสารประกอบการกู้ขาดประสิทธิภาพ พนักงานมีไม่เพียงพอต่อให้บริการลูกค้าที่มาใช้บริการจำนวนมาก (3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ลูกค้าให้ความสำคัญกับเงื่อนไขการรวมหนี้ของโครงการสินเชื่อบ้านดีหนี้เบา ในขณะที่รูปแบบการนำเสนอของธนาคารขาดประสิทธิภาพ ขาดการประชาสัมพันธ์ (4) ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก พบว่า มีธนาคารคู่แข่งอยู่ในพื้นที่ มีบริการสินเชื่อที่มีลักษณะใกล้เคียงและสามารถทดแทนผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคารออมสินได้ 3) การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดประกอบด้วย Marketing strategy  และ People Management strategy ซึ่งทั้ง 2 แนวทางนี้ คาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดสินเชื่อโครงการบ้านดีหนี้เบาให้กับธนาคารออมสินสาขาพังโคน จังหวัดสกลนครได้


คำสำคัญ: การเพิ่มยอดสินเชื่อ, สินเชื่อรีไฟแนนซ์, สินเชื่อเคหะ, ธนาคารออมสิน 


ABSTRACT
            This study employed a mixed-method research approach with the following objectives: 1) to examine demographic factors, behavioral factors, marketing mix factors, and motivating factors that influence the selection of home loans under the debt consolidation scheme, 2) to analyze the causes and problems that impact the increase in home loan sales under the debt consolidation scheme, and 3) to develop marketing strategies focused on increasing home loan sales under the debt consolidation scheme to achieve the set objectives. Data were collected through questionnaires from a sample group of 279 customers who used their residential property as collateral for loans at the Government Savings Bank, Phang Khon Branch. Additionally, data were collected through interviews with two loan officers from the same branch and five customers who had collateral with the bank, totaling 7 individuals. Descriptive statistics, including percentage, mean, standard deviation, and frequency, were used to analyze the descriptive data. Inferential data analysis involved T-test and one-way ANOVA for variance analysis. The study findings revealed the following. 1) Different demographic factors significantly influence customers' decisions to choose home loans under the debt consolidation scheme at the Government Savings Bank, Phang Khon Branch, with a statistical significance difference at 0.05. The most significant behavioral factor affecting the selection of home loans was engaging in transactional activities with the bank, such as deposits, withdrawals, and savings bonds. The most significant marketing mix factors influencing the selection of home loans were related to product and service attributes and service delivery processes. The most significant motivating factor influencing the selection of home loans was the maximum loan amount approved by the bank. 2) The causes of problems impacting the increase in home loan sales under the debt consolidation scheme can be categorized as follows: (1) demographic factors, indicating that customers often lack understanding when filling out various documents and loan applications; (2) internal factors within the bank, suggesting that document-related loan processes are inefficient and that staff resources are insufficient to handle a large number of customer transactions; (3) marketing mix factors, indicating that customers value the debt consolidation terms of the home loan scheme, but the bank's presentation format lacks efficiency and effective communication; and (4) external environmental factors, such as the presence of competing banks offering similar loan services, which pose a potential threat to the Government Savings Bank's loan products. 3) Marketing strategies and people management strategies have been developed to increase home loan sales under the debt consolidation scheme. These two strategies are expected to contribute to the increase in home loan sales for the Government Savings Bank, Phang Khon Branch, Sakon Nakhon Province.


Keywords: Increase in home loan sales, refinance loan, home loan, Government Savings Bank

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Sutthiarj, S., & Kilenthong, P. (2023). Guideline to Increase home loan sales under the debt consolidation scheme (Ban Dee Nee Bao): a case study of Government Savings Bank Phang Khon Branch, Sakon Nakhon Province. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2(1), 64–86. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jmsku/article/view/5379
บท
Articles