แนวทางการลดความสูญเปล่าด้านระยะเวลาในกระบวนการผลิตเสื้อยืด: กรณีศึกษา บริษัท XYZ จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งเน้นลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในกระบวนการผลิตเสื้อยืดของบริษัทกรณีศึกษา โดยใช้หลักการ ECRS เทคนิคการศึกษาเวลา และแผนภูมิการไหล เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการผ่านการสังเกตการณ์ภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์เวลาในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการผลิต ผลการศึกษาพบว่าสามารถลดจำนวนขั้นตอนในกระบวนการผลิตจาก 28 ขั้นตอน เหลือ 24 ขั้นตอน และลดระยะเวลาในการผลิตจาก 364.21 นาที เป็น 340 นาที คิดเป็น 6.65% ต่อการผลิตเสื้อยืด 50 ตัวนอกจากนี้ ยังช่วยให้ปริมาณการผลิตต่อวันเพิ่มขึ้นจาก 65 ตัว เป็น 70 ตัว ส่งผลให้ปริมาณการผลิตต่อปีเพิ่มขึ้น 1,560 ตัว และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 7.69% จากการใช้ชั่วโมงแรงงานเท่าเดิม ผลลัพธ์จากการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าการนำแนวทางลดความสูญเปล่ามาใช้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดเวลาการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้ ทั้งนี้ แนวทางดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการผลิตคล้ายกัน เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในอนาคต
Downloads
Article Details
เอกสารอ้างอิง
กนกวรรณ สุภักดี, อินทุอร หินผา, อาริญา กล่อกระโทก, และณัฐวัฒน์ เหล่าโก้ก. (2561). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเทียนเวียนหัว: กรณีศึกษา ธุรกิจโรงหล่อเทียนมงคล. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 12(2), 112–122.
คลอเคลีย วจนะวิชากร. (2565). การลดความสูญเปล่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทอผ้าไหมกาบบัว: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนบ้านปะอาว จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม, 15(1), 89–101.
ชลาลัย วงเวียน, อลงกรณ์ ฉัตรเมืองปัก, และ สุภารัตน์ ค้างสันเทียะ. (2567). การปรับปรุงประสิทธิภาพ
ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป: กรณีศึกษาโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งหนึ่ง.
วิทยาสารบูรณาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรมประยุกต์, 17(1), 1–14.
ธรรมศักดิ์ ค่วยเทศ. (2564). การคำนวณหาค่าเวลามาตรฐานการทำงานของพนักงาน: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมโรงแรม. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(1), 5–18.
ธรรมศักดิ์ ค่วยเทศ, ธีรพล เถื่อนแพ, และ นิศาชล จันทรานภาสวัสดิ์. (2564). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมบริการด้านโรงแรมโดยการวิเคราะห์แผนภูมิการไหล. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 31(1), 180–192.
ทัตพงศ์ นามวัฒน์ และ ธนพร จนาพิระกนิฎฐ์์. (2567). การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตสินค้าหัตถกรรมลาหู่ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17(1), 76–88.
ลัดดาวัลย์ นันทจินดา. (2559). การประยุกต์ ECRS กับบริษัทขนส่งระบบ Milk run: กรณีศึกษา บริษัท ABC Transport จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรศิริ คำหล้า, เจษฎา ยาโสภา, ธัญญารัตน์ ไชยกําบัง, ปิยณัฐ โตอ่อน, ชฎา แต่งภูเขียว, ณัฐนันท์ อิส
สระพงศ์, และ กําธร สารวรรณ. (2564). การศึกษาเวลามาตรฐานในกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมเสร็จด้วยการจับเวลาโดยตรง. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(2), 41–51.
ศิริกุล บุญกอง, ฉัตรชัย เหล่าเขตการณ์, และ สุณัฐวีย์ น้อยโสภา. (2565). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตตามแนวคิดแบบลีน: กรณีศึกษาโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี, 6(2), 22–34.
สฤษดิ์ โตโพธิ์กลาง. (2559). การศึกษาการลดเวลาในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเครื่องปรับอากาศที่สูงขึ้นของบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. (2568, 31 มกราคม). สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2567. https://www.thaitextile.org/th/insign/detail.4427.1.0.html.
อุษาวดี อินทร์คล้าย และ พัฒนพงษ์ แสงหัตถวัฒนา. (2562). การปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดเวลาในการเคลื่อนย้ายเครื่องยนต์. วารสาร Engineering Transactions, 22(2), 88–94.
Barnes, R. M. (1991). Motion and Time Study: Design and Measurement of Work. John Wiley & Sons.
Douglas, J., Antony, J., and Douglas, A. (2015). Waste identification and elimination in HEIs: the role of Lean thinking. International Journal of Quality & Reliability Management, 32(9), 970-981.
Guha, S., and Verma, D. S. (2020). Time and motion study in a manufacturing industry. Journal of Emerging Technologies and Innovative Research, 7(8), 2066–2072.
Prakash, C., Rao, B. P., Shetty, D. V., and Vaibhava, S. (2020). Application of time and motion study to increase productivity and efficiency. Journal of Physics: Conference Series, 1706(1), 012126.