โซ่อุปทานมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐเกาหลี | Supply Chain of Nam Dok Mai Mango for Export to the Republic of Korea

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ธนรัตน์ แต้วัฒนา
มนต์ชัย ลีลาถาวรสุข
กนกพร เพียรประเสริฐ

บทคัดย่อ

            การศึกษาโครงการโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐเกาหลี มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐเกาหลี และ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐเกาหลี การดำเนินการวิจัยจะมุ่งเน้นการศึกษาข้อมูลกิจกรรมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระบบ


            โซ่อุปทาน ตั้งแต่เกษตรกร กลุ่มเกษตรกรผู้รวบรวม และโรงงานแปรรูปเพื่อเตรียมการจัดส่งไปยังสาธารณรัฐเกาหลี


            ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน ประกอบด้วย เกษตรกร วิสาหกิจชุมชนผู้รวบรวม และโรงงานอบไอน้ำผู้ส่งออก โดยเกษตรกรได้ให้ความสำคัญตามแนวทางการปฏิบัติการเกษตรที่ดี (GAP) ในการจัดการของการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ทำให้คุณภาพผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้ของไทยสามารถสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผู้บริโภคได้ ขณะที่ด้านเครือข่ายโซ่อุปทานของมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกไปยังสาธารณรัฐเกาหลี  พบว่าไม่มีความซับซ้อน และยังไม่มีตัวกลางที่เป็นผู้ที่มีอำนาจต่อรองสูงสุด (Focal firm) จึงทำให้การดำเนินงานในระบบของโซ่อุปทานมีความยืดหยุ่นสูง ขณะที่ปัญหาและอุปสรรคโซ่อุปทานผลิตภัณฑ์มะม่วง พบว่า การปลูกนอกฤดูมีผลผลิตต่ำ เกษตรกรจึงต้องใช้สารเคมีเร่งส่งผล ทำให้ต้นทุนสูงและมีสารเคมีตกค้าง ในช่วงที่เป็นฤดูกาลของทุกพื้นที่ก็จะมีมะม่วงล้นตลาดทำให้ราคาขายตกต่ำ และสินค้าที่ส่งออกยังไม่มีระบบของการตรวจสอบย้อนกลับไปยังเกษตรกรได้ ควรมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อลดความเสียหายจากการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะและการขนส่งที่สภาพถนนที่มีความเสียและไม่ได้มาตรฐาน ทั้งนี้อุปสรรคที่สำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์มะม่วงน้ำดอกไม้ ได้แก่ สภาพอากาศที่ร้อนและฝนตกไม่ตามฤดูกาล ส่งผลให้มะม่วงไม่ตอบสนอง จึงไม่สามารถกำหนดวันเวลาที่ออกผลอย่างแน่นอนได้ อีกทั้งแมลงและศัตรูพืชมีความทนทานต่อสารเคมีมากขึ้นเนื่องมาจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป สำหรับข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ภาครัฐควรจะต้องเข้ามาช่วยจัดการพื้นที่ปลูกมะม่วงเพื่อการส่งออก (Zoning) ซึ่งจะเป็นการนำไปสู่การเพิ่มปริมาณการผลิตนอกฤดูกาลและยังจะเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาผลผลิตล้นตลาด

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering )