สถานะความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบ ลองกองของสวนที่มีการจัดการต่างกันใน อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

Main Article Content

ปรัชนิดา ขันธ์ชัย
พรทิวา กัญยวงศ์หา
นุจรี บุญแปลง

Abstract

เพื่อประเมินสถานะความอุดมสมบูรณ์ ของดินและความเข้มข้นของธาตุอาหารใน ใบลองกอง ได้เลือกสวนลองกองที่มีการจัดการ ต่างกัน สวน 1 ปลูกแบบวนเกษตร สวน 2 ปลูก เชิงเดี่ยว และ สวน 3 ปลูกผสมกับไม้ผลอื่น เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างใบตามวิธีมาตรฐาน สวนละ 30 ต้น เปรียบเทียบสมบัติของดินและ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบกับค่ามาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สมบัติของดินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 ดินเป็นกรด รุนแรงมาก สวน 2 และ 3 ดินเป็นกรดจัดมาก ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายดินทั้ง 3 สวน อยู่ ในเกณฑ์ “ไม่เค็ม” อินทรียวัตถุของสวน 2 อยู่ใน เกณฑ์ปานกลาง ในขณะที่สวน 3 และ สวน 1 อยู่ ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงและสูง ตามลำดับ ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ของสวน 1 อยู่ในเกณฑ์สูงมาก รองลงมาได้แก่ สวน 3 และ 2 แคตไอออนสภาพ เบสที่สกัดได้แทบทุกธาตุอยู่ในระดับต่ำยกเว้น สวน 1 ที่มีโพแทสเซียมปานกลางและแมกนีเซียม ต่ำ ทุกสวนมีเหล็กที่สกัดได้สูงมาก ในขณะที่มี ทองแดงต่ำมาก ส่วนแมงกานีสและสังกะสีอยู่ใน เกณฑ์ต่ำมากถึงปานกลาง ตามลำดับ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบลองกอง ทั้ง 3 สวน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 มีธาตุอาหารที่อยู่ในระดับ “มากเกินพอ” จำนวนหลายธาตุกว่าที่พบในสวน 2 และสวน 3 โดยมีเพียงไนโตรเจนและแมกนีเซียมเท่านั้น ที่มี ความเข้มข้นจัดอยู่ในช่วงค่ามาตรฐานพอเพียงและ ต่ำกว่าค่ามาตรฐานพอเพียง ตามลำดับ ในขณะที่ สวน 3 มีความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนความ เข้มข้นของแมงกานีสและทองแดงในใบ ต่ำกว่า ค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนสวน 2 มีเพียงความ เข้มข้นของแมกนีเซียมในใบเท่านั้น ที่อยู่ในช่วง ค่ามาตรฐานพอเพียง ในขณะที่ไนโตรเจนและ แคลเซียมในใบ ต่ำกว่ามาตรฐานพอเพียง ส่วน ความเข้มข้นฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ปรัชนิดา ขันธ์ชัย

เพื่อประเมินสถานะความอุดมสมบูรณ์ ของดินและความเข้มข้นของธาตุอาหารใน ใบลองกอง ได้เลือกสวนลองกองที่มีการจัดการ ต่างกัน สวน 1 ปลูกแบบวนเกษตร สวน 2 ปลูก เชิงเดี่ยว และ สวน 3 ปลูกผสมกับไม้ผลอื่น เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างใบตามวิธีมาตรฐาน สวนละ 30 ต้น เปรียบเทียบสมบัติของดินและ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบกับค่ามาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สมบัติของดินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 ดินเป็นกรด รุนแรงมาก สวน 2 และ 3 ดินเป็นกรดจัดมาก ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายดินทั้ง 3 สวน อยู่ ในเกณฑ์ “ไม่เค็ม” อินทรียวัตถุของสวน 2 อยู่ใน เกณฑ์ปานกลาง ในขณะที่สวน 3 และ สวน 1 อยู่ ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงและสูง ตามลำดับ ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ของสวน 1 อยู่ในเกณฑ์สูงมาก รองลงมาได้แก่ สวน 3 และ 2 แคตไอออนสภาพ เบสที่สกัดได้แทบทุกธาตุอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้น สวน 1 ที่มีโพแทสเซียมปานกลางและแมกนีเซียม ต่ำ ทุกสวนมีเหล็กที่สกัดได้สูงมาก ในขณะที่มี ทองแดงต่ำมาก ส่วนแมงกานีสและสังกะสีอยู่ใน เกณฑ์ต่ำมากถึงปานกลาง ตามลำดับ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบลองกอง ทั้ง 3 สวน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 มีธาตุอาหารที่อยู่ในระดับ “มากเกินพอ” จำนวนหลายธาตุกว่าที่พบในสวน 2 และสวน 3 โดยมีเพียงไนโตรเจนและแมกนีเซียมเท่านั้น ที่มี ความเข้มข้นจัดอยู่ในช่วงค่ามาตรฐานพอเพียงและ ต่ำกว่าค่ามาตรฐานพอเพียง ตามลำดับ ในขณะที่ สวน 3 มีความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนความ เข้มข้นของแมงกานีสและทองแดงในใบ ต่ำกว่า ค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนสวน 2 มีเพียงความ เข้มข้นของแมกนีเซียมในใบเท่านั้น ที่อยู่ในช่วง ค่ามาตรฐานพอเพียง ในขณะที่ไนโตรเจนและ แคลเซียมในใบ ต่ำกว่ามาตรฐานพอเพียง ส่วน ความเข้มข้นฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง เพื่อการจัดการธาตุอาหารที่ถูกต้อง ทั้ง 3 สวน ควรใส่โดโลไมท์ ต้นละ 3-4 กิโลกรัมต่อปี และอินทรียวัตถุ ต้นละ 2 กิโลกรัมต่อปี สำหรับ สวน 1 ควรลดการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสลงจากเดิม 20% และลดการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจากเดิม 10% สวน 2 แนะนำให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ต้นละ 1 กิโลกรัมต่อปี และสวน 3 ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม คลอไรด์ (0-0-60) 1 กิโลกรัมต่อปี