สถานะความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบ ลองกองของสวนที่มีการจัดการต่างกันใน อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

ปรัชนิดา ขันธ์ชัย
พรทิวา กัญยวงศ์หา
นุจรี บุญแปลง

บทคัดย่อ

เพื่อประเมินสถานะความอุดมสมบูรณ์ ของดินและความเข้มข้นของธาตุอาหารใน ใบลองกอง ได้เลือกสวนลองกองที่มีการจัดการ ต่างกัน สวน 1 ปลูกแบบวนเกษตร สวน 2 ปลูก เชิงเดี่ยว และ สวน 3 ปลูกผสมกับไม้ผลอื่น เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างใบตามวิธีมาตรฐาน สวนละ 30 ต้น เปรียบเทียบสมบัติของดินและ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบกับค่ามาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สมบัติของดินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 ดินเป็นกรด รุนแรงมาก สวน 2 และ 3 ดินเป็นกรดจัดมาก ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายดินทั้ง 3 สวน อยู่ ในเกณฑ์ “ไม่เค็ม” อินทรียวัตถุของสวน 2 อยู่ใน เกณฑ์ปานกลาง ในขณะที่สวน 3 และ สวน 1 อยู่ ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงและสูง ตามลำดับ ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ของสวน 1 อยู่ในเกณฑ์สูงมาก รองลงมาได้แก่ สวน 3 และ 2 แคตไอออนสภาพ เบสที่สกัดได้แทบทุกธาตุอยู่ในระดับต่ำยกเว้น สวน 1 ที่มีโพแทสเซียมปานกลางและแมกนีเซียม ต่ำ ทุกสวนมีเหล็กที่สกัดได้สูงมาก ในขณะที่มี ทองแดงต่ำมาก ส่วนแมงกานีสและสังกะสีอยู่ใน เกณฑ์ต่ำมากถึงปานกลาง ตามลำดับ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบลองกอง ทั้ง 3 สวน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 มีธาตุอาหารที่อยู่ในระดับ “มากเกินพอ” จำนวนหลายธาตุกว่าที่พบในสวน 2 และสวน 3 โดยมีเพียงไนโตรเจนและแมกนีเซียมเท่านั้น ที่มี ความเข้มข้นจัดอยู่ในช่วงค่ามาตรฐานพอเพียงและ ต่ำกว่าค่ามาตรฐานพอเพียง ตามลำดับ ในขณะที่ สวน 3 มีความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนความ เข้มข้นของแมงกานีสและทองแดงในใบ ต่ำกว่า ค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนสวน 2 มีเพียงความ เข้มข้นของแมกนีเซียมในใบเท่านั้น ที่อยู่ในช่วง ค่ามาตรฐานพอเพียง ในขณะที่ไนโตรเจนและ แคลเซียมในใบ ต่ำกว่ามาตรฐานพอเพียง ส่วน ความเข้มข้นฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
บทความวิจัย
ประวัติผู้แต่ง

ปรัชนิดา ขันธ์ชัย

เพื่อประเมินสถานะความอุดมสมบูรณ์ ของดินและความเข้มข้นของธาตุอาหารใน ใบลองกอง ได้เลือกสวนลองกองที่มีการจัดการ ต่างกัน สวน 1 ปลูกแบบวนเกษตร สวน 2 ปลูก เชิงเดี่ยว และ สวน 3 ปลูกผสมกับไม้ผลอื่น เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างใบตามวิธีมาตรฐาน สวนละ 30 ต้น เปรียบเทียบสมบัติของดินและ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบกับค่ามาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สมบัติของดินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 ดินเป็นกรด รุนแรงมาก สวน 2 และ 3 ดินเป็นกรดจัดมาก ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายดินทั้ง 3 สวน อยู่ ในเกณฑ์ “ไม่เค็ม” อินทรียวัตถุของสวน 2 อยู่ใน เกณฑ์ปานกลาง ในขณะที่สวน 3 และ สวน 1 อยู่ ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงและสูง ตามลำดับ ฟอสฟอรัส ที่เป็นประโยชน์ของสวน 1 อยู่ในเกณฑ์สูงมาก รองลงมาได้แก่ สวน 3 และ 2 แคตไอออนสภาพ เบสที่สกัดได้แทบทุกธาตุอยู่ในระดับต่ำ ยกเว้น สวน 1 ที่มีโพแทสเซียมปานกลางและแมกนีเซียม ต่ำ ทุกสวนมีเหล็กที่สกัดได้สูงมาก ในขณะที่มี ทองแดงต่ำมาก ส่วนแมงกานีสและสังกะสีอยู่ใน เกณฑ์ต่ำมากถึงปานกลาง ตามลำดับ ความเข้มข้นของธาตุอาหารในใบลองกอง ทั้ง 3 สวน แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สวน 1 มีธาตุอาหารที่อยู่ในระดับ “มากเกินพอ” จำนวนหลายธาตุกว่าที่พบในสวน 2 และสวน 3 โดยมีเพียงไนโตรเจนและแมกนีเซียมเท่านั้น ที่มี ความเข้มข้นจัดอยู่ในช่วงค่ามาตรฐานพอเพียงและ ต่ำกว่าค่ามาตรฐานพอเพียง ตามลำดับ ในขณะที่ สวน 3 มีความเข้มข้นของฟอสฟอรัสและสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนความ เข้มข้นของแมงกานีสและทองแดงในใบ ต่ำกว่า ค่ามาตรฐานพอเพียง ส่วนสวน 2 มีเพียงความ เข้มข้นของแมกนีเซียมในใบเท่านั้น ที่อยู่ในช่วง ค่ามาตรฐานพอเพียง ในขณะที่ไนโตรเจนและ แคลเซียมในใบ ต่ำกว่ามาตรฐานพอเพียง ส่วน ความเข้มข้นฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสังกะสี ในใบ สูงกว่าช่วงค่ามาตรฐานพอเพียง เพื่อการจัดการธาตุอาหารที่ถูกต้อง ทั้ง 3 สวน ควรใส่โดโลไมท์ ต้นละ 3-4 กิโลกรัมต่อปี และอินทรียวัตถุ ต้นละ 2 กิโลกรัมต่อปี สำหรับ สวน 1 ควรลดการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสลงจากเดิม 20% และลดการใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมจากเดิม 10% สวน 2 แนะนำให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ต้นละ 1 กิโลกรัมต่อปี และสวน 3 ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียม คลอไรด์ (0-0-60) 1 กิโลกรัมต่อปี