การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นพนัน ของเด็กและเยาวชนชุมชนหนองโรง จังหวัดกาญจนบุรี|Community Potentials Analysis for Preventing and Solving Gambling Problems in Children and Youth of Nongrong Community, Kanchanaburi Province

Authors

  • อภิชาติ ใจอารีย์ Department of Human and Community Resources Development, Faculty of Education and Development Sciences, Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus

Keywords:

ศักยภาพชุมชน, ปัญหาการเล่นพนันของเด็กและเยาวชน, ทุนทางสังคม, community potentials, gambling problems in children, youth

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและระดับความรุนแรงของปัญหาการเล่นการพนันของเด็กและเยาวชนแบบมีส่วนร่วม และ 2) วิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นพนันของเด็กและเยาวชนของชุมชนหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสำรวจพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย แกนนำชุมชน สมาชิกชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนกลุ่ม/องค์กรในชุมชน ตัวแทนเด็กและเยาวชน และตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม จำนวน 35 คน และเสริมด้วยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 12 – 18 ปี ด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 84 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาและระดับความรุนแรงของปัญหาการเล่นการพนันของเด็กและเยาวชนชุมชนบ้านหนองโรงยังอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงมาก แต่มีเด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการพนัน และมีทัศนคติเชิงบวกต่อการเล่นการพนันโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และทัศนคติเชิงบวกระดับน้อย ชุมชนจึงมีความต้องการในป้องกันและแก้ไขปัญหา เพื่อลดแนวโน้มในการทวีความรุ่นแรงขึ้น โดยชุมชนบ้านหนองโรงมีศักยภาพและทุนทางสังคมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นพนันของเด็กและเยาวชนแบบมีส่วนร่วมใน 6 ด้าน คือ 1) ด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องถิ่น 2) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) ด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีชุมชน 4) ด้านการรวมกลุ่ม 5) ด้านความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และ 6) ด้านศักยภาพของผู้นำ  โดยศักยภาพที่โดดเด่นที่สุด คือ ด้านความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรท้องถิ่น ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี จากการสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านเวทีชุมชน เสนอแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นพนันของเด็กและเยาวชนเป็นการบูรณาการระหว่างศักยภาพและทุนทางสังคมชุมชน โดยเน้นที่กิจกรรมป่าชุมชนเป็นหลักตามด้วยทุนวัฒนธรรมประเพณีและทุนมนุษย์ผสานกับมาตรการทางกฎหมายและกระบวนการเรียนรู้

The major objective of this qualitative research was to 1) study the problems and the severity of the problem of gambling for children and youth in a participatory manner and, 2) analysis of community potentials for preventing and solving gambling problems in children and youth of Nongrong Community, Kanchanaburi Province. Nongrong Community in Kanchanaburi province was selected as the study site. Data collection with document analysis, in-depth interview, focus group discussion, and community survey.

Key informants include community leaders, community members, local wisdom scholars, representatives of  group and community organization,  representatives of children and youth, and external participants from various local organizations, totaling 35 persons and collected quantitative data from questionnaires with a sample of children and youth aged between 12 - 18 years with simple random sampling of 84 persons. Data were obtained and analyzed with content analysis and quantitative data using descriptive statistics.            It was revealed that Nongrong Community has gambling problem of children and youth was not very serious and have a positive attitude towards gambling at a moderate level And a low level of positive attitude. The community has a need for prevention and resolution to reduce the tendency to increase strength. Nongrong community has the potential and social capital to participate in 6 aspects: 1) the abundance of local resources, 2) the local wisdom, 3) the way of life, cultural and community traditions, 4) group integration, 5) relative relationships, and 6) leadership potential. Ban Huai Sapansamakkee community forest is the most prominent community capital. In addition, the lesson learned was reflected through a community forum to proposed prevention and resolution was the integrated between potential and community capital, with emphasis on natural resources capital, namely, community forest along with cultural and tradition capital, and human capital, combined with legal and learning process.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-03-08

Issue

Section

บทความวิจัย