ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จังหวัดราชบุรี|The Relation between Sufficiency Economy and Quality of Life of Students at Suan Phung Wittaya School, Ratchaburi Province

Main Article Content

วรเศรษฐ์ วงศ์อารีย์
จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์
อภิชาติ ใจอารีย์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาคุณภาพชีวิต และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จังหวัดราชบุรี เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จำนวนทั้งสิ้น 181 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)


ผลการวิจัย พบว่า การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความพอประมาณ และด้านความมีเหตุผล อยู่ในระดับมาก ด้านการมีภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนคุณภาพชีวิตของนักเรียนโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพชีวิตด้านจิตใจอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคุณภาพชีวิตของนักเรียน พบว่า การประยุกต์หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


The purposes of the research were to 1) study the applied sufficiency economy 2) study the quality of life and 3) study the relation between sufficiency economy and quality of life of students at Suan Phung Wittaya School, Ratchaburi Province. It was a correlational research, the sample were 181 students. The instrument was a questionnaire. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and correlation coefficient.


The results showed that, the overall of applied sufficiency economy was high level: 1) moderation was high level, 2) reasonableness was high level, and 3) the need self-immunity was medium level. The overall of quality of life was high level: 1) physical domain was high level, 2) psychological domain was medium level, 3) social relationship was high level, and 4) environment was high level. The relation between supplied sufficiency economy and quality of life has a positive correlation with statistical significance at .01.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)