ความสัมพันธ์ของบุคลากรกับความผูกพันของนักศึกษาที่มีต่อความสามารถต่อการตอบสนองความต้องการของชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ The Impacts of Relationship with University Staff and Student Engagement by Responsiveness of Community Needs by Rajabhat Universities

Main Article Content

สุวพัชร วุฒิเสน

Abstract

การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ของบุคลากรกับความผูกพันของนักศึกษาที่มี่ต่อความสามารถต่อการตอบสนองความต้องการของชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเหตุที่มีต่อความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนกับความผูกพันของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏผู้วิจัยกำหนดกลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 40 แห่งทั่วประเทศ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 1,000 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามด้วยการจัดส่งทางจดหมายผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage-Sampling) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามระหว่างเดือน สิงหาคม – พฤศจิกายน 2556 และได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 625 ฉบับคิดเป็นอัตราการตอบกลับคืน (Response Rate) ร้อยละ 62.5 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่าประสบการณ์ของนักศึกษาที่ได้รับจากบุคลากรฝ่ายสนับสนุนและประสบการณ์ของนักศึกษาที่ได้รับจากบุคลากรฝ่ายวิชาการ/ฝ่ายบริหารมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความผูกพันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งมีความสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ในระดับนัยสำคัญที่ 0.05


This study examines the relationship of university staff engagement on student loyalty with the responsiveness of community needs in Rajabhat Universities with focus on (1) investigate the influence of the factors which affect the engagement of student in Rajabhat Universities and (2) explore the relationship of the response to the community needs with engagement of student in Rajabhat Universities. The researcher defined the population for this research as a group student who are studying in 40 Rajabhat Universities for 1,000 persons. Data was collected by mail questionnaires. The purposive sampling method was collected by questionnaires distributed during August - November 2013 and 325 questionnaires were returned or being equal to the response rate at 62.5%. Data was analyzed by Structural Equation Modeling: SEM. Findings from the research suggested that the experience of the student who received the support from university staff and the experience of student from academic staff had direct and positive influence on capability in responding to the community needs whereas capability in meeting the needs of community showed direct and positive influence on student loyalty in Rajabhat Universities.   This is consistent with the research hypotheses in level of significance at 0.05.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)