Broiler Farmers’ Acceptance of Extract Herbs: An Application of the Technology Acceptance Model การยอมรับการใช้สารสกัดสมุนไพรในเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ: การประยุกต์ใช้แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี

Main Article Content

Nattawut Kertrat
Jakrapun Suksawat

Abstract

บทคัดย่อ


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีในการใช้สารสกัดสมุนไพรเพื่อป้องกันโรคของฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อด้วยการประยุกต์แนวคิดการยอมรับเทคโนโลยี โดยเก็บข้อมูลในพื้นที่จังหวัดลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี ทำการศึกษาด้วยแบบจำลองถดถอยโลจิสติกส์และการวิเคราะห์ผลกระทบส่วนเพิ่ม ซึ่งผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้สารสกัดสมุนไพรของฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อประกอบด้วย จำนวน       ปีการศึกษาของผู้มีอำนาจตัดสินใจในฟาร์ม ประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ การส่งออกผลผลิตของฟาร์ม จำนวนรอบการเลี้ยงต่อปี และการรับรู้ประโยชน์ของสารสกัดสมุนไพร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการเชิงนโยบายและแผนงานการกำหนดกลยุทธ์ โดยองค์กรที่เกี่ยวข้องควรมุ่งเน้นส่งเสริมไปยังฟาร์มที่ผลิตเพื่อการส่งออก นอกจากนั้น การชี้ชัดให้เกษตรกรรับรู้ประโยชน์ในการใช้สารสกัดสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่มีสารตกค้างและประสิทธิภาพในการรักษา นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกรได้มากขึ้น


ABSTRACT


     This research aims to study the adoption of technology enhancement for the use of herbal toxins to prevent disease on broiler farms.  The data were collected from the major broiler farming provinces of Thailand, including Lopburi, Saraburi, and Kanchanaburi which were analyzed using logistic regression as well as interpretation via marginal effect.  The results revealed that the factors associated with the acceptance of extract herb in broiler farming were years of education, experience in farming, exporting of the product, productivity per year, and perceived usefulness at a statistical significance level of 0.05.  The research results can be used as a guideline to manage policy and work plans, related organizations should promote farming for export and promote the awareness of farmers regarding the advantages of using the extracted herb in farming in order to increase the likelihood of farmer’s acceptation.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)