Thailand’s Eastern Economic Corridor and Foreign Direct Investment เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทยกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

Main Article Content

Monchai Leelathawornsuk
Kanokporn Peanprasert

Abstract

บทคัดย่อ


      การจัดตั้ง “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)” ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย การศึกษาผลกระทบของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เข้าสู่ประเทศไทย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analytics) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติต่างๆ
      การศึกษาพบว่า EEC ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เข้าสู่ประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่สำคัญของประเทศไทย พิจารณาจากจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ต่อมาหลังมี EEC จำนวนโครงการเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 310 โครงการต่อปี เป็น 542.83 โครงการต่อปี และมูลค่าการลงทุนเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 174,729.53 ล้านบาทต่อปี เป็น 379,338.28 ล้านบาทต่อปี รวมถึงทุนจดทะเบียนของต่างชาติที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ก็มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนจัดตั้ง EEC
     ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ หน่วยงานที่กำกับดูแลและส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ควรมีการทบทวนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้มีความเป็นปัจจุบันทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ต่างๆ ของโลก รวมถึงควรเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติทราบข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น ที่แสดงถึงความพร้อมของประเทศไทยที่จะรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ เชิงบวกของประเทศไทย


คำสำคัญ: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ



ABSTRACT


      Eastern Economic Corridor (EEC) development is a government policy aimed at boosting the economy of Thailand by promoting three provinces in the eastern region, namely Chonburi, Chachoengsao, and Rayong. This study explains the impact of the EEC on foreign direct investment (FDI) to Thailand through descriptive analytics and the gathering of data and statistics.
      The study found that the EEC helped attract more FDI into Thailand because it is an important investment promotion policy of Thailand. This can be observed in the rising number of projects and investment values requesting investment promotion in the EEC, which has a clear trend of increasing since 2018. After the establishment of the EEC, the average number of projects increased from 310 projects per year to 542.83 projects per year and the average investment value increased from 174,729.53 million baht per year to 379,338.28 million baht per year. Furthermore, the registered capital of foreigners applying for investment promotion in the EEC has increased compared to the period before the EEC was established.
     To attract increased FDI sustainably, the study recommends that the Board of Investment, which regulates and promotes investment in Thailand, review its policies and benefits to respond to the rapid changes in the world's situation. Public relations should also be accelerated so that foreign investors know the necessary information that shows Thailand's readiness to promote its economic development. This will help build a positive image of Thailand and encourage more FDI in the future.


Keywords: Eastern Economic Corridor: EEC, Foreign Direct Investment: FDI


เอกสารอ้างอิง (Reference)


สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2566). ทำไมต้อง อีอีซี-ความเป็นมาของ อีอีซี. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566 จาก https://www.eeco.or.th/th/government-initiative


สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2566). คู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2566. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566 จาก https://www.boi.go.th/upload/content/BOI_A_Guide_ Web_Th.pdf


สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2567). สถิติการส่งเสริมการลงทุน แยกตามจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://ipstat.boi.go.th/pubrpt/rep08qtrprovince.php


ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2567). สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยรายประเทศ ปี พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567 จาก https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNCountry&Opti on=1&Lang=Th&ImExType=1


Chen, C. (2015). Determinants and motives of outward foreign direct investment from China’s provincial firms. Transnational Corporations, United Nations publication, 23(1), 1-28.


United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD). (2023). Foreign direct investment: Inward and outward flows and stock. [annual]. Retrieved December 1, 2023 from https://unctadstat.unctad.org/datacentre/dataviewer/US.FdiFlowsSto


United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD). (2020). Impact of the coronavirus outbreak on global FDI. Retrieved April 17, 2024 from https://unctad.org/press-material/impact-coronavirus-outbreak-global


United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD). (2006). World Investment Report 2006 - FDI from Developing and Transition Economies: Implications for Development. Retrieved from https://unctad.org/system/files

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
Leelathawornsuk, M., & Peanprasert, K. (2024). Thailand’s Eastern Economic Corridor and Foreign Direct Investment: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทยกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ . Journal of Applied Economics and Management Strategy, 11(1), 267–283. Retrieved from https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/5741
Section
บทความวิชาการ (Academic Article)