เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทยกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

Main Article Content

มนต์ชัย ลีลาถาวรสุข
กนกพร เพียรประเสริฐ

บทคัดย่อ

การจัดตั้ง “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)” ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง เพื่อช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย การศึกษาผลกระทบของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เข้าสู่ประเทศไทย ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analytics) ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติต่างๆ


การศึกษาพบว่า EEC ช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ให้เข้าสู่ประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่สำคัญของประเทศไทย พิจารณาจากจำนวนโครงการและมูลค่าการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา ต่อมาหลังมี EEC จำนวนโครงการเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 310 โครงการต่อปี เป็น 542.83 โครงการต่อปี และมูลค่าการลงทุนเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นจาก 174,729.53 ล้านบาทต่อปี เป็น 379,338.28 ล้านบาทต่อปี รวมถึงทุนจดทะเบียนของต่างชาติที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนใน EEC ก็มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับช่วงก่อนจัดตั้ง EEC
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ หน่วยงานที่กำกับดูแลและส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ควรมีการทบทวนสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้มีความเป็นปัจจุบันทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ต่างๆ ของโลก รวมถึงควรเร่งประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติทราบข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น ที่แสดงถึงความพร้อมของประเทศไทยที่จะรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ รวมทั้งยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ เชิงบวกของประเทศไทย

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
ลีลาถาวรสุข ม., & เพียรประเสริฐ ก. (2024). เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทยกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ . วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 11(1), 267–283. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/5741
บท
บทความวิชาการ (Academic Article)
ประวัติผู้แต่ง

มนต์ชัย ลีลาถาวรสุข, คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

อาจารย์

กนกพร เพียรประเสริฐ, ผู้ประพันบรรณกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะเศรษฐศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

ผู้ประพันบรรณกิจ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2566). ทำไมต้อง อีอีซี-ความเป็นมาของ อีอีซี. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566 จาก https://www.eeco.or.th/th/government-initiative

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2566). คู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2566. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2566 จาก https://www.boi.go.th/upload/content/BOI_A_Guide_ Web_Th.pdf

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2567). สถิติการส่งเสริมการลงทุน แยกตามจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567 จาก https://ipstat.boi.go.th/pubrpt/rep08qtrprovince.php

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2567). สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของไทยรายประเทศ ปี พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2567 จาก https://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNCountry&Opti on=1&Lang=Th&ImExType=1

Chen, C. (2015). Determinants and motives of outward foreign direct investment from China’s provincial firms. Transnational Corporations, United Nations publication, 23(1), 1-28.

United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD). (2023). Foreign direct investment: Inward and outward flows and stock. [annual]. Retrieved December 1, 2023 from https://unctadstat.unctad.org/datacentre/dataviewer/US.FdiFlowsSto

United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD). (2020). Impact of the coronavirus outbreak on global FDI. Retrieved April 17, 2024 from https://unctad.org/press-material/impact-coronavirus-outbreak-global

United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD). (2006). World Investment Report 2006 - FDI from Developing and Transition Economies: Implications for Development. Retrieved from https://unctad.org/system/files