การวิเคราะห์แรงกระตุ้นทางการคลังของประเทศไทย Fiscal Impulse Analysis in Thailand

Main Article Content

นรพัชร์ อัศววัลลภ

Abstract

การดำเนินนโยบายการคลังของไทยในช่วงที่ผ่านมาหากวิเคราะห์ด้วยวิธีแรงกระตุ้นทางการคลังพบว่าปีงบประมาณ 2553-2555 รัฐบาลดำเนินนโยบายแบบ Counter-cyclical อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีงบประมาณ 2556-2557 รัฐบาลมีการดำเนินนโยบายการคลังแบบ Pro-cyclical ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สำหรับปีงบประมาณ 2558 คาดว่ารัฐบาลจะสามารถกลับมาทำหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สำหรับปีงบประมาณ 2559 แผนการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลจะสอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสำเร็จในการเบิกจ่ายตามแผนที่ได้วางไว้เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ในแง่ความยั่งยืนทางการคลัง ระดับการขาดดุลการคลังเบื้องต้นในระยะยาวที่จะไม่ทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP เกินเป้าหมายที่ระดับร้อยละ 60 ของ GDP ตามกรอบความยั่งยืนทางการคลังควรอยู่ที่ระดับไม่เกินกว่าร้อยละ 1.1 ของ GDP ในขณะที่ ในระยะสั้นคาดว่า การขาดดุลการคลังในปีงบประมาณ 2558 และ 2559 น่าจะเกินกว่าระดับดังกล่าว


Fiscal impulse analysis shows that Thai government implemented counter-cyclical fiscal policy during the fiscal years 2010-2012 and pro-cyclical fiscal policy during the fiscal years 2013-2014.Regarding outlook for fiscal years 2015-2016, the study expects that the government will be able to implement counter-cyclical policy to stabilize the economy if government expenditure can be disbursed as planned.In terms of fiscal sustainability, the study suggests long term level of primary fiscal deficit to GDP ratio should not exceed -1.1% in order to maintain public debt ratio below 60% to GDP under the Thai Ministry of Finance’s fiscal sustainability framework. Meanwhile, the study anticipates that the government may possibly run larger deficit than -1.1% in fiscal years 2015-2016. However, actual primary fiscal deficit to GDP ratio may go beyond the suggested level in the short term in order to help stabilizing the economy.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)