การประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้านนันทนาการของสวนสาธารณะริมทะเล เทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี The Evaluation of Recreational Use Value of Si Racha Seaside Public Park

Main Article Content

เกศนี ธารีสังข์

บทคัดย่อ

สวนสาธารณะนอกจากจะเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ และช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลภาวะจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วแล้วสวนสาธารณะยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจด้วย สวนสาธารณะยังเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพที่ดีของประชาชนทางด้านร่างกาย โดยในปีพุทธศักราช 2543 มีการนำสวนสาธารณะมาเป็นเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพชีวิตของเมืองในทวีปเอเชียโดยนิตยสารเอเชียวีคเป็นสถาบันแรก ต่อมาในปีพุทธศักราช 2550 Mercer Consulting ซึ่งเป็นบริษัทเพื่อพัฒนาสุขภาพ ความมั่งคั่ง และอาชีพ อธิบายว่า สวนสาธารณะเป็นเกณฑ์การพิจารณาด้านนันทนาการ เพื่อการจัดอันดับของมหานครชั้นนำของโลก ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด
ในขณะเดียวกันการจัดให้มีสวนสาธารณะไว้บริการประชาชนนั้นมีค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงานภาครัฐเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งการให้บริการของสวนสาธารณะไม่มีราคาในระบบตลาด แต่สวนสาธารณะมีประโยชน์แก่ประชาชน ในทางเศรษฐศาสตร์จึงพยายามหามูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้านนันทนาการของสวนสาธารณะ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้านนันทนาการของสวนสาธารณะริมทะเลเทศบาลเมือง ศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยวิธีคิดต้นทุนการเดินทางระดับบุคคล
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการสวนสาธารณะมีส่วนเกินผู้บริโภคประมาณ 85.40 บาท/คน/ครั้ง เมื่อทำการพิจารณามูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้านนันทนาการของสวนสาธารณะ พบว่า สวนสาธารณะริมทะเลเทศบาลเมือง ศรีราชา มีมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้านนันทนาการประมาณ 1,708,000 บาท/ปี นอกจากนั้นยังพบว่า ระยะทางระหว่างที่พักอาศัยกับสวนสาธารณะ ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เวลาที่ใช้ในสวนสาธารณะ อาชีพ และที่พักอาศัยที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนครั้งในการเดินทางมาใช้บริการสวนสาธารณะริมทะเลเทศบาลเมืองศรีราชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.10


Aside from providing a place for relaxation as well as helping to reduce environmental pollution generated by rapid socio-economic development, public park is also an indicator towards the quality of life of the population in both achieving physical and mental balance. In the year 2000, Asia Week magazine was the first institution that evaluated physical quality of life of Asian population based on the existence of the public park. Subsequently in the year 2007, Mercer Consulting, a global consulting leader for advancing the health, wealth and careers, had expounded that the world- best life’s quality between leading metropolises should be ranked by the usage of the public park for recreation as one indicator.


Although the value of public park services are not priced in market system, and the resource allocation for public park is, however, based on government budget. Still, the utilization of the public park provides economic benefits to the people. Thus, this study aims to evaluate the recreational usage value of Si Racha seaside public park by calculating the cost of personal traveling to the park. The result establishes the facts that each public park user gains about 85.40 THB as a surplus per each visit and the Si Racha seaside public park holds recreational usage value approximately 1,708,000 THB per year. Moreover, the frequency of the public park visit is significantly influenced by the distance from their residences to the park, the travel expense, the duration of visit occupation and Si Racha Municipality at 0.10 significance level.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
ธารีสังข์ เ. (2018). การประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์ทางด้านนันทนาการของสวนสาธารณะริมทะเล เทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี: The Evaluation of Recreational Use Value of Si Racha Seaside Public Park. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 4(1), 33–42. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/1053
บท
บทความวิจัย (Research Article)