การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตสารยึดเกาะยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ของบริษัท เค จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา A Feasibility Study of Investment on Urea Formaldehyde Resin Production of K Company Limited in Southern Region Industrial Estate Changwat Songkhla

Main Article Content

กันติชา ไม้เรียง

บทคัดย่อ

การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพทั่วไปของอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนในประเทศ และข้อมูลทั่วไปของบริษัท เค จำกัด ศึกษาทางเลือกทางด้านเทคนิคที่เหมาะสมของโครงการ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางด้านการเงินของโครงการ การศึกษาใช้ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากเอกสารวิชาการ ต่างๆ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณ เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ อัตราผลตอบแทนภายในที่มีการปรับค่าของโครงการ ดัชนีความสามารถทำกำไร และการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน ผลการศึกษาพบว่า อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ต่อปี บริษัท เค จำกัด เป็นบริษัทผลิตแผ่นไม้อัดเพื่อการส่งออกทั้งหมด โดยมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศอยู่ปีละ 660,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี บริษัทสั่งซื้อสารยึดเกาะยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์จากผู้ผลิตภายนอกทั้งหมด 3 ราย รวม 37,200 ตันต่อปี เป็นเงินปีละกว่า 800 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35 ของต้นทุนทั้งหมด อีกทั้งยังมีปัญหาด้านคุณภาพของสารยึดเกาะของแต่ละรายไม่ตรงตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด และในบางครั้งส่งวัตถุดิบไม่ทันต่อการใช้งานของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงมีแนวคิดที่จะทำการผลิตสารยึดเกาะยูเรียฟฟอร์มัลดีไฮด์ของบริษัทเอง ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยทำการติดตั้งเครื่องปฏิกรณ์ ตามรูปแบบถังกวน ขนาดการผลิต 30 ตัน จำนวน 2 เครื่อง ปริมาณการผลิตสารยึดเกาะ อยู่ที่ 39,060 ตันต่อปี หรือร้อยละ 85 ของกำลังการผลิต ผลการศึกษาทางด้านการเงิน แบ่งเป็นกรณีไม่ขอรับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน และกรณีขอรับสิทธิประโยชน์จากการส่งเสริมการลงทุน พบว่าที่อายุโครงการ 11 ปี ใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก เป็นอัตราคิดลดที่ร้อยละ 10.01 และ 10.33 ตามลำดับทั้งสองกรณีมีความคุ้มค่าในการลงทุนเนื่องจากมีมูลค่าปัจจุบันเท่ากับ 300,083,484.41 บาท และ 337,579,434.63 บาท อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการร้อยละ 51.19 และร้อยละ 65.57 อัตราผลตอบแทนภายในโครงการที่มีการปรับค่าแล้วร้อยละ 27.68 และร้อยละ 29.17 ดัชนีความสามารถในการทำกำไร 5.15 เท่า และ 5.66 เท่า ตามลำดับ        ผลการทดสอบความสามารถในการรับความแปรเปลี่ยนพบว่าด้านผลตอบแทน สามารถลดลงได้สูงสุด ร้อยละ 56.68 ร้อยละ 64.83 ด้านต้นทุนรวม สามารถเพิ่มได้สูงสุดร้อยละ 130.85 และร้อยละ 184.34 ตามลำดับ


This study aimed to explore the general condition of wood and furniture industry and particle board production of K Company Limited, to study the technical aspects of in house resin production project, to perform financial feasibility and to test the ability to sustain change of the project. The study utilized primary data obtained from in-depth interviews and participant observation and secondary data obtained from academic paper of various sources including website on the internet. Both types of data were used in descriptive and quantitative analyses. The analytical tools were Weighted Average Cost of Capital (WACC) Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return (IRR), Modified Internal Rate of Return (MIRR), Profitability Index (PI), and Switching Value Test (SVT). The study found that wood and furniture industry expanded by 13 percent per year in the last 4 years.   K Company Limited, produced particle board due to purchasing order from abroad at 660,000 Cubic meters per year. The company ordered Urea Formaldehyde resin (UF) 37,200 tons per year from 3 external suppliers to use in production process. However, there have problems in quality and sometime delay in delivery. Besides, the cost of UF resin is greater than 800 Million baht per year or one-third of total production cost. Thus the company decided to set up in house production of Urea Formaldehyde resin. The project utilized land in Industrial Estate located in Songkhla province, southern region. The technical aspect indicated that the company required two stirred-tank reactors which could produce 130 tons of resin per day or 39,060 tons per year. The financial results with BOI and non BOI cases under project life of 11 years with WACC as discount rate of 10.01 and 10.33 percent respectively showed that the project was feasible in both case because NPV were 300,083,484.41 Baht and 337,579,434.63 Baht, IRR were 57.19 and 65.57 percent, MIRR were 27.68 and 29.17 percent, and PI were 5.15 and 5.66 respectively. The SVT indicated that the benefit could be decreased by 56.68 and 64.83 percent, and total cost could be increased by 130.85 and 184.34 percent, respectively.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
ไม้เรียง ก. (2018). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตสารยึดเกาะยูเรียฟอร์มัลดีไฮด์ของบริษัท เค จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา: A Feasibility Study of Investment on Urea Formaldehyde Resin Production of K Company Limited in Southern Region Industrial Estate Changwat Songkhla. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 4(2), 67–75. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/1070
บท
บทความวิจัย (Research Article)