ผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อสวัสดิการของครัวเรือนชนบทในประเทศไทย The Impact of the Village Fund on the Well-being of Thai Rural Households
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้านต่อสวัสดิการของครัวเรือนทั้งในด้านรายได้และความมั่งคั่ง (วัดโดยสัดส่วนทรัพย์สินต่อหนี้สิน) โดยใช้ข้อมูลการเก็บตัวอย่างซ้ำตั้งแต่ ปี 2541-2556 ในพื้นที่ชนบท 4 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ลพบุรี บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ จากการสำรวจโดยสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (Research Institute for Policy Evaluation and Design: RIPED) และใช้แบบจำลอง Fixed-effects เพื่อประมาณค่า ผลการศึกษาเชิงประจักษ์พบว่า การกู้ยืมจากกองทุนหมู่บ้านส่งผลกระทบทางบวกต่อรายได้ของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การกู้ยืมทั้งในปัจจุบันและอดีต 2–3 ปี ช่วยให้รายได้ของครัวเรือนในช่วงเวลาปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม หนี้กองทุนหมู่บ้านส่งผลกระทบทางลบต่อความมั่งคั่งของครัวเรือนในปีเดียวกัน ทั้งนี้ หนี้กองทุนหมู่บ้านในอดีตมิได้ส่งผลต่อสวัสดิการของครัวเรือนในปัจจุบัน จากผลการประมาณการดังกล่าวบ่งชี้ว่ากองทุนหมู่บ้านสามารถช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของครัวเรือนโดยช่วยให้รายได้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น แต่มิได้ส่งผลกระทบต่อสวัสดิการของครัวเรือนในระยะยาว แต่อย่างใด
ABSTRACT
This paper attempts to determine the impacts of the village fund on rural household welfare in terms of income and wealth (measured by asset-debt ratio). This study used panel data from the Research Institute for Policy Evaluation and Design, covering the years 1998 to 2013 from 4 Thai provinces: Chachoengsao, Lop Buri, Buri Ram, and Si Saket. The fixed-effect model was employed as an estimating approach. The results suggested a positive and statistically-significant effect of current and past village fund debt on current household income level. On the other hand, current village fund debt appeared to have an adverse effect on current asset-debt ratio, whereas past village fund debt was not associated with current asset-debt ratio. Overall, the empirical evidence suggested a strong positive short-run effect of village fund debt on household income; however, a longer-run impact on household well-being was not found.