Financial Innovation and Technology in Cryptocurrency in a Bangkok Metropolitan Precinct นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินในสกุลดิจิทัล ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

Somjai Fongthiwong
Kanokwan Chancharoenchai

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การศึกษาครั้งนี้เน้นการวิเคราะห์พฤติกรรมการตัดสินใจใช้และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความน่าจะเป็นในการใช้เงินสกุลดิจิทัลในประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่รู้จักเงินสกุลดิจิทัลจำนวน 400 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ตลอดทั้งการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์แบบสถิติเชิงอนุมานด้วยค่าสถิติ t-test และค่าสถิติ F-test และใช้วิธีการถดถอยโลจิสติกในการคำนวณค่าผลกระทบส่วนเพิ่มที่กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05
          ผลจากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้เงินสกุลดิจิทัลมาก่อนมีจำนวน 172 คนของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 400 คน ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็งกำไร และมีจำนวน 288 คนที่ไม่เคยใช้เงินสกุลดิจิทัลมาก่อน และในอนาคตกลุ่มตัวอย่างจำนวน 344 คน ตัดสินใจที่จะใช้เงินสกุลดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานมากที่สุด สำหรับแหล่งข้อมูลที่นิยมใช้ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลมากที่สุดคืออินเทอร์เน็ต โดยแหล่งที่มีระดับความน่าเชื่อถือมากที่สุดคือ หน่วยงานของรัฐ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลในภาพรวมให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านความเสี่ยงในระดับมาก ขณะที่ผลการประเมินค่าผลกระทบส่วนเพิ่มจากแบบจำลองโลจิสติกบ่งชี้ว่า เพศชายและอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัวและอื่นๆ สะท้อนบุคลิกที่ชอบการผจญภัยมีผลให้โอกาสการใช้เงินสกุลดิจิทัลเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 ในขณะที่ความเชื่อมั่นในข้อมูลเพิ่มโอกาสความน่าจะเป็นประมาณร้อยละ 15 ดังนั้น รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเน้นให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลพร้อมทั้งส่งเสริมการใช้งานผ่านแหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ สะดวกและรวดเร็ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจใช้เงินสกุลดิจิทัลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสกุลเงินดิจิทัลตามโลกาภิวัตน์ของระบบการเงินโลก


คำสำคัญ: เงินสกุลดิจิทัล สกุลเงินที่ถูกเข้ารหัส แบบจำลองโลจิสติก


ABSTRACT
          This study aims to investigate the behaviors and factors affecting the chance of using digital currency in Thailand. Questionnaires were employed to collect the data from people that knew about digital currency. The sample consisted of 400 respondents. The statistics employed in the analysis of the data were percentage, arithmetic mean, and standard deviation. The t-test and F-test and logistic regression analysis were applied to estimate the change in the probability of using digital currency with a 0.05 conventional significance level.
          The results of the study revealed that 172 out of 400 respondents used digital currency for speculative purposes and 288 respondents never used digital currency. It was also revealed that 344 respondents intend to use digital currency in the future. The main reason for using it concerns convenience. The Internet is a main channel for obtaining digital currency information, and government agencies were considered the most reliable source. Additionally, risk was seen as the most important factor regarding digital currency. According to the marginal effects obtained from the logit model, it was found that being male, working in a private company, being a business owner and others, and adventurous characteristics, tended to increase the chance of using digital currency at around 10 percent. Moreover, reliable information was a statistically-significant factor in terms of increasing the chance of using digital currency at 15 percent. The Thai government should focus on providing information and promoting reliable sources with real-time updates that are easy to access by the public. In this way, people would be encouraged to use digital currency, and have more confidence in it, according to the globalization of the financial system.


Keywords: Digital Currency, Cryptocurrency, Logistic Model

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Fongthiwong, S., & Chancharoenchai, K. (2019). Financial Innovation and Technology in Cryptocurrency in a Bangkok Metropolitan Precinct: นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินในสกุลดิจิทัล ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 6(2), 55–72. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/2422
บท
บทความวิจัย (Research Article)