Organizational Culture Suited for the Thailand 4.0 Era: Cultural Elements Fostering the Improvement of Organizational Performance วัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0: ส่วนประกอบวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการปรับปรุงสมรรถนะขององค์การ

Main Article Content

Surayuth Boonmatat

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ทำให้โลกเข้าสู่ยุค 4.0 ซึ่งในยุคนี้องค์การต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมทางการบริหารที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง องค์การที่ปรับตัวได้เร็วโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบและใช้นวัตกรรมในทุกกิจกรรมและกระบวนการที่เป็นไปได้ ก็จะทำให้สมรรถนะขององค์การสูงขึ้นและมีความสามารถในการแข่งขัน ทำให้อยู่รอดและเติบโตต่อไปได้
          บทความนี้วิเคราะห์ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การซึ่งปรากฏอยู่ในโมเดลความเป็นเลิศของสถาบันต่างๆ ได้แก่ โมเดลความเป็นเลิศอีเอฟคิวเอ็ม 2013 ของประเทศกลุ่มยุโรป และโครงร่างความเป็นเลิศบอลดริจ 2017-2018 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์หาส่วนประกอบ (Element) ของวัฒนธรรมองค์การที่เอื้อต่อการปรับปรุงสมรรถนะขององค์การ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการทำให้องค์การเป็นองค์การสมรรถนะสูง หรือองค์การเป็นเลิศ ที่ยอมรับกันว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญขององค์การในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4
          ผลการวิเคราะห์พบว่าส่วนประกอบวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการปรับปรุงสมรรถนะขององค์การที่ปรากฏอยู่ในโมเดลความเป็นเลิศอีเอฟคิวเอ็ม และโครงร่างความเป็นเลิศบอลดริจ เมื่อมองในภาพรวม ได้แก่ (1) มุมมองเชิงระบบ (2) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (การนำด้วยวิสัยทัศน์ แรงบันดาลใจ และบูรภาพ) (3) ความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า (การเพิ่มคุณค่าสำหรับลูกค้า) (4) การพัฒนาขีดความสามารถขององค์การ (5) การให้คุณค่าแก่คน (สู่ความสำเร็จด้วยความชาญฉลาดของคน) (6) การเรียนรู้ขององค์การ (7) การจัดการด้วยความว่องไว (8) การสร้างอนาคตที่ยั่งยืน (9) การมุ่งเน้นความสำเร็จ (10) การเก็บเกี่ยวความคิดสร้างสรรค์ (11) การบริหารจัดการเพื่อนวัตกรรม (12) การบริหารด้วยข้อเท็จจริง (13) การบริหารความเสี่ยง (14) ความรับผิดชอบต่อสังคม (15) จริยธรรมและความโปร่งใส (16) คุณค่าและผลลัพธ์ที่บังเกิด และ (17) คงความยั่งยืนของผลลัพธ์ที่ได้รับการยอมรับทั่วไป


คำสำคัญ: วัฒนธรรมองค์การ สมรรถนะขององค์การ ไทยแลนด์ 4.0


ABSTRACT
          The Fourth Industrial Revolution brought the world into the 4.0 era. In this era organizations are encountering a drastically-changed managerial environment. The rapidly-adapting organizations that change to full digitalization and use innovation in all possible activities and processes are able to achieve higher performance and competitiveness, leading to survival and increased growth circumstances.
          This article analyzes the requirements of the 2013 EFQM Excellence Model and the 2017-2018 Baldrige Excellence Framework in order to ascertain all of the cultural elements by placing emphasis on those elements that foster the improvement of organizational performance. These elements can be used as enablers to drive organizations to high performance, which has been recognized to be an important characteristic of organizations in the fourth industrial revolution era.
           This analysis found that the cultural elements fostering the improvement of organizational performance were the following: (1) a systems perspective; (2) visionary leadership (leading with vision, inspiration, and integrity); (3) customer-focused excellence (adding value for customers); (4) developing organizational capability; (5) valuing people (succeeding through the talent of people); (6) organizational learning; (7) managing with agility; (8) creating a sustainable future; (9) focus on success; (10) harnessing creativity; (11) managing for innovation; (12) management by fact; (13) risk management; (14) social responsibility; (15) ethics and transparency; (16) delivering value and results; and (17) sustaining outstanding results.

Keywords: Organizational Culture, Organizational Performance, Thailand 4.0

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Boonmatat, S. (2019). Organizational Culture Suited for the Thailand 4.0 Era: Cultural Elements Fostering the Improvement of Organizational Performance: วัฒนธรรมองค์การที่เหมาะสมกับยุคไทยแลนด์ 4.0: ส่วนประกอบวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการปรับปรุงสมรรถนะขององค์การ. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 6(2), 159–176. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/2434
บท
บทความวิชาการ (Academic Article)