The Relationship between Generation Y Manager Leadership and Characteristics of Effective Followers: A Case Study of Automotive Climate Systems Industry, Eastern Seaboard Industrial Estate, Rayong ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเจนเนอเรชั่นวายกับคุณลักษณะ ของผู้ตามที่มีประสิทธิผล กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศในรถยนต์ เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเจนเนอเรชั่นวาย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวกับงานของผู้บริหาร เปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้ตามที่มีประสิทธิผลจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่เกี่ยวกับงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อวิเคราะห์ระดับความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารเจนเนอเรชั่นวายกับคุณลักษณะของผู้ตามที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงานที่มีผู้บริหารเจนเนอเรชั่นวายจำนวน 400 คน ในกลุ่มอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศในรถยนต์ เขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด ระยอง แบบสอบถามที่ใช้ได้พัฒนามาจากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยทำการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นก่อนการนำไปใช้ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ t-test ค่าวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Least Significant Difference (LSD) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่าผู้บริหารเจนเนอเรชั่นวาย เพศชายและเพศหญิงมีรูปแบบภาวะผู้นำแบบชี้นำและแบบสนับสนุนที่แตกต่างกัน ผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีอายุและประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันมีคุณลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผลในด้านความสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้านมีความผูกพัน ด้านการเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตน และด้านความกล้าแตกต่างกัน ภาวะผู้นำแบบเน้นความสำเร็จของงานมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านความสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ด้านมีความผูกพัน ด้านเสริมสร้างศักยภาพและการทุ่มเทตน และด้านความกล้า นอกจากนั้นรูปแบบภาวะผู้นำแบบสนับสนุน แบบมีส่วนร่วม และแบบเน้นความสำเร็จของงานมีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผลของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้านความสามารถบริหารจัดการตนเองได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ABSTRACT
The purposes of this research were to analyze the leadership styles of Gneration Y managers which were classified by personal factors, in order to analyze the characteristics of effective subordinates, also classified by personal factors and to analyze the relationship between the leadership of Generation Y managers and the characteristics of effective subordinates. The sample was 400 employees in the automotive climate systems industry in the Eastern Seaboard Industrial Estate (Rayong) who have Generation Y managers. The questionnaire was improved from the related concepts and research by testing content validity and reliability before using it. The data were collected by convenience sampling. The data were analyzed by using are percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way ANOVA, least significant difference of multiple comparison tests and Pearson’s product moment correlation.
The results revealed that male and female Generation Y managers had differences in term of directive and supportive leadership styles. The subordinates, who had differences in age and current position tenure, exhibited differences in self-management, commitment, competence and focus, and courage. Achievement-oriented leadership was related to the characteristics of effective subordinates in terms of self-management, commitment, competence and focus, and courage. Finally, the study showed that the supportive leadership, participative leadership and achievement-oriented leadership of Generation Y managers were related to the characteristics of the self-management of effective subordinates at a 0.05 statistically significant level.