The Mediating Effect of Kaizen Event between Production Management in Japanese Style and Cost Reduction in Northern Region Industrial Estate in Thailand อิทธิพลตัวแปรคั่นกลางของกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการลดต้นทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

ฺBoonyada Nasomboon

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลดต้นทุน วิเคราะห์และเปรียบเทียบทิศทางของอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมที่มีต่อการลดต้นทุน รูปแบบโมเดลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝงจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรแฝงภายนอกคือการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น ตัวแปรแฝงภายในคือการลดต้นทุน และตัวแปรคั่นกลางคือกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยมีตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งสิ้นจำนวน 14 ตัวแปร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องขององค์กรที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จำนวน 393 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรแฝงภายนอกคือการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรแฝงภายในคือการลดต้นทุน และยังพบว่า ตัวแปรแฝงภายนอกคือการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรแฝงภายในคือต่อการลดต้นทุนผ่านตัวแปรคั่นกลางคือกิจกรรมการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีค่าอิทธิพลรวมร้อยละ 0.83 ซึ่งโมเดลสมการโครงสร้างของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่า 2=185.86 ที่องศาอิสระ (df) =72, CMIN/df =2.58, p value =0.000, GFI =.94 AGFI =.91, CFI =.98, NFI =.96, RMR=.01, RMSEA=.06

คำสำคัญ: การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น กิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การลดต้นทุน การวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง



ABSTRACT
          The purpose of this research was to investigate and to develop the causal structural relationship model of factors influencing cost reduction, to analyze and to compare direct and indirect effects of factors influencing cost reduction. This model consists of 3 latent variables, namely production management in Japanese style is exogenous variable, the endogenous variable is cost reduction, and kaizen event is mediator variable with the total of 14 observed variables. This research was conducted using questionnaires as an instrument to collect data from northern region industrial estate 393 samples with stratified random sampling. This process was completed using the principles of structural equation modeling (SEM) which required confirmatory factor analysis on the measurement model and path analysis on the structural model. The research result showed that the exogenous latent variable, in terms of production management in Japanese style factors, which a direct influence on endogenous in terms of cost reduction. And research result also showed that the exogenous latent variable in terms of production management in Japanese style factors an indirect influence on endogenous in terms of cost reduction by passing though the mediator variable kaizen event about 0.83 percent. The constructed model of production management in Japanese style influencing the cost reduction regarding northern region industrial estate showed very well fitted with the empirical data as follows: 2=185.86 at df=72, CMIN/df =2.58, Probability level (p value)=0.000, GFI=.94, AGFI=.91, CFI=.98, NFI =.96, RMR=.01, RMSEA=.06.


Keywords: Production Management in Japanese Style, Kaizen Event, Cost Reduction, Confirmatory Factor Analysis, Structural Equation Modelling

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Nasomboon ฺ. (2020). The Mediating Effect of Kaizen Event between Production Management in Japanese Style and Cost Reduction in Northern Region Industrial Estate in Thailand: อิทธิพลตัวแปรคั่นกลางของกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการลดต้นทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 7(2), 140–156. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/3148
บท
บทความวิจัย (Research Article)