การชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ สถาบันการเงินแห่งหนึ่งในสถานการณ์โรคระบาด Covid-19

Main Article Content

กสิมา ศรีเดช
สิทธิชัย เจริญเศรษฐศิลป์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์และตรวจสอบตัวแบบของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อโอกาสการชำระหนี้ที่ไม่ปกติของลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ในสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่มีหนี้สัญญาเงินกู้ จำนวน 347 คน และได้เลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์จำนวน 310 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบภาคตัดขวาง ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 และใช้โปรแกรมสําเร็จรูปเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้เงินกู้ ด้วยสถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบทวิผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 41.65 ปี สถานภาพสมรสแล้ว จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นลูกค้าสถาบันการเงินเฉลี่ย 8.79 ปี ประเภทเงินกู้ คือ เงินกู้ระยะสั้นปกติ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.54 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 4.46 คน ส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ประจำ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเฉลี่ย 7,883.55 บาท และส่วนใหญ่มีหนี้สิน สำหรับการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้เงินกู้ พบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการชำระหนี้เงินกู้ไม่ปกติในทิศทางตรงกันข้าม คือ ตัวแปรเพศ ระยะเวลาการเป็นลูกค้า เงินกู้ระยะปานกลางปกติ ไม่มีรายได้ และไม่มีหนี้สิน ส่วนตัวแปรอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ประเภทเงินกู้ระยะยาวปกติ สมาชิกในครัวเรือน และแรงงานในครัวเรือน มีอิทธิพลต่อการชำระหนี้เงินกู้ไม่ปกติในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถนำไปใช้กับสถาบันการเงินแห่งอื่นที่มีมาตรการพักชำระหนี้ เพื่อวิเคราะห์ถึงลักษณะเบื้องต้นของลูกค้าได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
ศรีเดช ก., & เจริญเศรษฐศิลป์ ส. (2023). การชำระหนี้เงินกู้ของลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ สถาบันการเงินแห่งหนึ่งในสถานการณ์โรคระบาด Covid-19. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 10(1), 166–184. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/4836
บท
บทความวิจัย (Research Article)
ประวัติผู้แต่ง

กสิมา ศรีเดช, คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

นักศึกษาปริญญาโท

สิทธิชัย เจริญเศรษฐศิลป์, คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด Covid-19 ที่รักษาหายแล้วและเสียชีวิตทั่วโลก. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2564 จาก https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e

โชติมา กิจศิรกร. (2563). ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการจัดทำงบการเงิน. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.daa.co.th/ผลกระทบจากโควิด-19ต่อการจัดทำงบการเงิน

ฐิติยา สนิทชน. (2564). พฤติกรรมการออมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมของครัวเรือนไทย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

ณัฐวัฒน์ ตั้งคุณสมบัติ. (2564). Taro Yamane: การกำหนดกลุ่มจำนวนประชากรสำหรับการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565 จาก https://www.uxresearchlab.com/2021/09/20/taro-yamane-

ณิชารีย์ อรัญ. (2563). คุณภาพสินเชื่อ บ่งชี้ 3 จุดเปราะบางธุรกิจไทย. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2565 จาก https://media.kkpfg.com/document/2021/Mar/KKP

ดวงกมล ศรีวนิชยอดชัย. (2562). การประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ผลสำเร็จของการติดต่อลูกค้าของธนาคารแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.bot.or.th/covid19/Pages/content/retail/measures-phase1/default.aspx

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). จะผ่อนชำระปกติ หรือ จะพักชำระหนี้ ในช่วงวิกฤติโควิด 19?. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256302TheKnowledge_DebtInstallment.aspx

ธีระดา ภิญโญ. (2562). การศึกษาการรายงานผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกสำหรับงานวิจัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian, 12(5), 544-558.

ปกภณ จันทศาสตร์. (2557). ปัจจัยคุณสมบัติส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน และแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันกับองค์กรของพนักงานเอกชนระดับปฏิบัติการ ในเขตลาดพร้าว-จตุจักร. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

พัชรินทร์ มาบุญ และพัชรี สุริยะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรภูเวียง จำกัด จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรการเกษตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

พิเชษฐ์ คนซื่อ. (2557). ผลกระทบของบ่อนการพนันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์. (2563). ผลกระทบ Covid-19 ระบาดรอบ 2 ต่อเนื่องรอบ 3 กับทิศทางตลาดแรงงานไทย. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2565 จาก https://tdri.or.th/2021/04/covid-19-2-3-affected-thai-labor-market/

ยุวดี เปรมวิชัย. (2564). Data Analytics: Prediction with Logistic Regression. กรุงเทพฯ: ยุวดี เปรมวิชัย

วิชญ์พล คุ้มกัน และกุลบุตร โกเมนกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้: กรณีศึกษาในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต).

วีรพัฒน์ สิงหะโรจน์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระหนี้ของเกษตรกรลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ ในจังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

เสาวณี จันทะพงษ์ และทศพล ต้องหุ้ย, 2563. ผลกระทบวิกฤต Covid-19 กับเศรษฐกิจโลก: This Time is Different. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565 จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_18Mar2020.aspx?fbclid=IwAR04BZ34NAw_EvuiANH29DojHYn-0FCcJg3zUvpURTEN_kIZ9l4thQ-2bFg

อรทัย เจริญสิทธิ์. (2560). การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารีสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 1-9.

เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา. (2558). การแบ่งข้อมูลเพื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพของโมเดล. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564 จาก https://th.linkedin.com/pulse-eakasit-pacharawongsakda

Nurdiansah, S. N. & Khikmah, L. (2020). Binary Logistic Regression Analysis of Variables that Influence Poverty in Central Java. Journal of Intelligent Computing and Health Informatics, 1(1), 5-8.

Zewude, B. T. & Ashine, K. M. (2016). Binary Logistic Regression Analysis in Assessment and Identifying Factors That Influence Students’ Academic Achievement: The Case of College of Natural and Computational Science. Journal of Education and Practice, 7(25), 3-7.