มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการของถนนคนเดินเชียงคาน ตามแนวทางความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

Main Article Content

อัครพงศ์ อั้นทอง
กันต์สินี กันทะวงศ์วาร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการของถนนคนเดินเชียงคาน โดยประยุกต์ใช้แนวทางความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว (Tourists’ Satisfaction Approach: TSA) ในการพัฒนาแบบจำลองปัจจัยที่อธิบายความพึงพอใจของผู้เยี่ยมเยือน และประยุกต์ใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุดที่มีการ Robust Standard Errors ประมาณค่าสัมประสิทธิ์จากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้เยี่ยมเยือนด้วยแบบสอบถามจำนวน 297 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมการเดินเยี่ยมชมหรือซื้อของในถนนคนเดินมีราคาเงา 2,400 บาทต่อคนต่อทริป และมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการประมาณ 4.63 พันล้านบาท ส่วนกิจกรรมการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนมีราคาเงา 2,100 บาทต่อคนต่อทริป และมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการประมาณ 1.47 พันล้านบาท ทั้งสองกิจกรรมมีมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการรวมกันประมาณ 6.10 พันล้านบาท จากราคาเงาที่ประเมินได้ สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าที่ผู้เยี่ยมเยือนยินดีจ่ายให้กับการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการจากกิจกรรมทั้งสองของถนนคนเดินเชียงคาน ดังนั้น หน่วยงานท้องถิ่นที่ดูแลถนนคนเดินเชียงคานสามารถนำราคาเงาที่ประเมินได้ไปประกอบการกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการจากผู้เยี่ยมเยือน เพื่อนำเงินดังกล่าวมาดูแลในเรื่องของการพัฒนา ความปลอดภัย การจัดการขยะ และอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ถนนคนเดินเชียงคานที่นำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
อั้นทอง อ., & กันทะวงศ์วาร ก. (2023). มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้ประโยชน์เชิงนันทนาการของถนนคนเดินเชียงคาน ตามแนวทางความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 10(1), 92–108. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/4970
บท
บทความวิจัย (Research Article)
ประวัติผู้แต่ง

อัครพงศ์ อั้นทอง, คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาวิทยาลัยแม่โจ้

รองศาสตราจารย์

กันต์สินี กันทะวงศ์วาร, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์

เอกสารอ้างอิง

เทศบาลตำบลเชียงคาน. (2564). แบบรายงานข้อมูลสถิติจำนวนนักท่องเที่ยวประจำปี. เชียงคาน: เทศบาลตำบลเชียงคาน. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2565 จาก http://www.chiangkhan.info/home

อัครพงศ์ อั้นทอง และกันต์สินี กันทะวงศ์วาร. (2564). เศรษฐศาสตร์การท่องเที่ยว. เชียงใหม่: คณะพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อัครพงศ์ อั้นทอง, กันต์สินี กันทะวงศ์วาร และณัฐพล อนันต์ธนาสาร. (2561). การรับรู้ของประชาชนต่อผลกระทบจากการพัฒนาการท่องเที่ยวในท้องถิ่น. เชียงใหม่: มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ.

Ambrey, C. L., & Fleming, C. M. (2012). Valuing Australia’s Protected Areas: A Life Satisfaction Approach. Discussion Papers Economics, Griffith Business School.

Ambrey, C. L., Fleming, C. M., & Chan, A. Y. -C. (2014). Estimating the cost of air pollution in South East Queensland: An application of the life satisfaction non-market valuation approach. Ecological Economics, 97(January), 172-181.

Butler, R. W. (2011). Tourism Area Life Cycle. Oxford: Goodfellow Publishers Limited.

Carlsson, F., & Martinsson, P. (2003). Design techniques for stated preference methods in health economics. Health Economics, 12(4), 281-294.

Easterlin, R. A. (1974). Does economic growth improve the human lot? some empirical evidence. Nations & Households in Economic Growth, 89-125.

Fleming, C. M., & Ambrey, C. L. (2017). The life satisfaction approach to environmental valuation. Oxford Research Encyclopedias. Oxford: Oxford University Press.

Frey, B., Luechinger, S., & Stutzer, A. (2009). The life satisfaction approach to valuing public goods: the case of terrorism. Public Choice, 138(3/4), 317-345.

Frey, B., Luechinger, S., & Stutzer, A. (2010). The life satisfaction approach to environmental valuation. Annual Review of Resource Economic, 2(1), 139-160.

Gujarati, D. N., & Porter, D. C. (2009). Basic Econometrics. New York: McGraw-Hill/Irwin.

Hausman, J. (2012). Contingent valuation: form dubious to hopeless. Journal of Economic Perspectives, 26(4), 43-56.

Kahneman, D., & Sugden, R. (2005). Experienced utility as a standard of policy evaluation. Environmental and Resource Economics, 32(September), 161-185

Lian, H., & Wang, E. -D. (2017). Valuing air quality in tourism cities based on the tourist satisfaction approach. Proceedings of International Conference on Energy Development and Environmental Protection (EDEP 2017), 277-282.

Luechinger, S. (2009). Valuing air quality using the life satisfaction approach. The Economic Journal, 119(536), 482-515.

Murphy, J. J., Allen, P. G., Stevens, T. H., & Weatherhead, D. (2005). A meta-analysis of hypothetical bias in stated preference valuation. Environmental and Resource Economics, 30(March), 313-325.

Qiu, Y., Wang, E., Bu, Y., & Yu, Y. (2021). Valuing recreational fishery attributes, opportunities and associated activities in China form the tourists’ satisfaction perspectives. Marine Policy, 131(September), 1-10.

Schlápfer, F., & Fischhoff, B. (2012). Task familiarity and contextual cues predict hypothetical bias in a meta-analysis of stated preference studies. Ecological Economics, 81(September), 44-47.

Studenmund, A. H. (2006). Using Econometrics: A Practical Guide. 5th ed. Boston: Pearson Education, Inc.

Welsch, H. (2007). Environment and happiness: Valuation of air pollution using life satisfaction data. Ecological Economics, 58(4), 801-813.