การศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและพฤติกรรมการรับรู้ ของผู้ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (2) ประเมินความต้องการเกี่ยวกับพฤติกรรมและการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ (3) เพื่อค้นหาศักยภาพและแนวทางการจัดการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีโดยใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการเลือกเก็บข้อมูลแบบสะดวกกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเที่ยวในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 485 คน และแบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการเลือกเก็บข้อมูลแบบเจาะจง กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน นักวิชาการ ผู้ประกอบการ ปราชญ์ท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 16 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลการวัดตัวแปร องค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 4.731, df = 3, p-value=0.192, GFI=0.997, AGFI=0.983, CFI=0.999, RMR=0.004, RMSEA=0.033) 2) ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับพฤติกรรม และการรับรู้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในปัจจุบันและที่ควรจะเป็นด้วยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง พบว่า องค์ประกอบที่ 3 ด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวมีความต้องการจำเป็นมากที่สุด 3) การวิเคราะห์ (SWOT) เพื่อค้นหาศักยภาพ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ในการบริหารจัดการและหาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพตามพฤติกรรมและการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดนครราชสีมา พบว่าจุดแข็งคือ สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว และแนวทางในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพดังนี้ ควรพัฒนาการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาส่งเสริมกิจกรรมทางการท่องเที่ยวให้มีความหลากหลาย และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทางการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานและเพิ่มมากขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เอกสารอ้างอิง
กรมการท่องเที่ยว. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย พ.ศ. 2560– 2564. กรุงเทพฯ: บริษัท พีดับบลิว ปริ้นติ้ง จำกัด
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถานการณ์การท่องเที่ยวปี 2561 และแนวโน้มถึงปี 2564. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php? nid=11273
กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สุขภาพและคุณภาพชีวิต. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565 จาก https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1031678
กลินท์ สารสิน. (2563). New Normal ท่องเที่ยวไทย ทำอย่างไรเมื่อต่างชาติไม่มากเท่าเดิม: Wellness Tourism คือจุดแข็งที่ประเทศไทยต้องผลักดันเพิ่ม. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2564 จาก https://workpointtoday.com/th-tmr-kalin/
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). ภาวะและสถานการณ์การท่องเที่ยวในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565 จาก https://api.tat.or.th/upload/live/about_tat/8925/รายงานประจำปี_2564.pdf
เกศวลีณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2562). การประเมินความพร้อมของแหล่งน้ำพุร้อน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ สู่การพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพน้ำพุร้อน. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เขมลักษณ์ คุปคีตพันธ์ และปริญญา บรรจงมณี. (2563). แนวทางการพัฒนาองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(1), 1-13.
ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง และจินตนา เลิศสกุล. (2564). ความต้องการของตลาดและศักยภาพการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(6), 77-93.
ทินวัฒน์ แสงศิลา และเขมณัฐ ภูกองไชย. (2563). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวหาดสวนหินบ้านดงคําโพธิ์ ตําบลปลาโหล อําเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วารสารปัญญาปณิธาน, 5(1), 189-202.
เทิดชาย ช่วยบํารุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
นัทชา สองหลวง. (2561). แนวทางการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพจังหวัดขอนแก่น. รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติการท่องเที่ยวโรงแรมร่วมสมัย ครั้งที่ 5, 149-160. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปฏิมาศ เสริฐเลิศ. (2562). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางวัฒนธรรม บ้านโนนน้ำเกลี้ยง อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ราณี อิสิชัยกุล. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche tourism management). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สารภี ชนะทัพ, เนตรนภา รักษายศ และนงลักษณ์ ผุดเผือก. (2564). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกรณีศึกษา น้ำพุร้อนท่าสะท้อน ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 8(1). 61-79.
สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ.2561 – 2565 ฉบับทบทวน. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2565 จาก https://www2.nakhonratchasima.go.th/files/com_ebook_strategy/2020-06_aa31e9524baf536.pdf
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดนครราชสีมา. (2565). การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัด นครราชสีมาประจำปี พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565 จาก https://nakhonratchasima.mots.go.th/more_news.php?cid=52
สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, กรมการท่องเที่ยว. (2565). การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2565 จาก https://www.dot.go.th/storage/ebooks/January2019/AlzAxoKlnGGUUEh9JE36.pdf
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2558). การประเมินความต้องการจําาเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 8(2), 2558 56-68.
อารัญ บุญชัย และจินนา ตันศราวิพุธ. (2546). ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจุดขายใหม่ของการท่องเที่ยวไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 40(4), 22-23.
Boga, T. C., & Weiermair, K. (2011). Branding new services in health tourism. Tourism Review, 66(½), pp. 90-160.
Buhalis, D. (2000). Marketing competitive destination in the future. Tourism Management. 21(1), 97-116.
Cheng, C. L., Lin, F. C., Chi, M. W., & Tso, J. C. (2018). Exploration of the Critical Factors of Spa Tourism in Taiwan. International Journal of Science, Technology and Society 6(2), 47-51.
Cochran, W.G. (1963). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Cooper C., & Boniface, B.G. (1998). Geography of travel and tourism. United Kingdom. Butterworth Heinemann.
Creswell, J., & Plano Clark, V. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Sage.
Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill.
Diamantopoulos, A., & Signaw, A.D. (2000). Introducing LISREL: A Guide for the Uninitiated. Sage.
Gan, L. & Frederuck, J.R. (2011). Medical Tourism Facilitators: Patterns of Service Differentiation. Journal of Vacation marketing, 17(3), 1-19.
Global Wellness Institute. (2017). The Global Wellness Tourism Economy 2017. Retrieved April 9, 2021 from http://www.globalwellnesssummit.com.
Likert, R. (1932). A Technique foe Measurement of Attitude. Achieves of Psychology.
Pelasol, M., Tayoba, M., Mondero, E., Jugado, K., & Lahaylahay, C. (2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo, Philippines. JPAIR Multidisciplinary Research, 8(1), 90-97.
Pike, S. D. (2008). Destination Marketing: an integrated marketing communication approach. Massachusetts United States: Butterworth-Heinemann. Burlington.
Western, T. (2008). Five A's of Toursim. Australia: Tourism Western Australia.