การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่การยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในภาคเหนือ

Main Article Content

พนินท์ นนทโคตร
ภัทรวุฒิ สมยานะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหาแนวทางการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร โดยการเลือก อปท. แบบเจาะจง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา อุตรดิตถ์ และน่าน รวม 30 แห่ง แต่ละแห่งคัดเลือกตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 300 ราย เพื่อวัดระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรอัจฉริยะพอเพียง และวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตรของ อปท. ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางเศรษฐศาสตร์ (Data Envelopment Analysis Program: DEAP) ผลการวิจัยพบว่า อปท. ทั้งหมดมีการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ ในระดับสูง มีค่าประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตรค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 88.30 โดยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตรของ อปท. คือ สัดส่วนงบประมาณ ด้านการเกษตรต่องบประมาณทั้งหมด พนักงานประจำที่ดูแลด้านการเกษตร และจำนวนศูนย์เรียนรู้ ด้านการเกษตร ทั้งนี้พบว่า อปท. ที่มีประสิทธิภาพการให้บริการสูงสามารถยกระดับความเป็นเกษตรกรอัจฉริยะพอเพียงในระดับเข้าถึง นอกจากนี้เกษตรกรสามารถยกระดับความเป็นอยู่จากไม่เข้าข่ายเป็นเข้าข่าย เข้าใจ และเข้าถึงความเป็นเกษตรกรอัจฉริยะพอเพียง ข้อเสนอแนะงานวิจัยคือ อปท. ควรวางแผนการขับเคลื่อน และยกระดับประสิทธิภาพโดยการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรที่ส่งผลต่อการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกร มีการกำหนดงบประมาณ บุคลากรผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน และบูรณาการงานร่วมกับนักวิจัยซึ่งระบุไว้ในแผนงบประมาณประจำปีและแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของ อปท. ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
นนทโคตร พ., & สมยานะ ภ. (2024). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะด้านการเกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่การยกระดับความเป็นเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในภาคเหนือ . วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 11(1), 92–107. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/5590
บท
บทความวิจัย (Research Article)
ประวัติผู้แต่ง

พนินท์ นนทโคตร, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ภัทรวุฒิ สมยานะ, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รองศาสตราจารย์

เอกสารอ้างอิง

จิรัฐ เจนพึ่งพร วิษณุ อรรถวานิช โสมรัศมิ์ จันทรัตน์ และบุญธิดา เสงี่ยมเนตร. (2562). พลวัตการทำเกษตรไทยและนัยต่อผลตอบแทนและความเสี่ยงของครัวเรือนเกษตร. สืบค้น 1 สิงหาคม 2562, จาก https://www.pier.or.th/wp-content/uploads/2019/06/aBRIDGEd_2019_014.pdf

ชลิดา ทุกข์สูญ และอาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ. (2559). การวิเคราะห์ศักยภาพของเจ้าหน้าที่เกษตรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อการวางแผนพัฒนาที่เหมาะสม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2), 200–211.

ชัยรัตน์ นทีประสิทธิพร และวีระศักดิ์ สมยานะ. (2563). บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนภาคการเกษตรชุมชนจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, (16)2, 15-138.

ปิยะลักษณ์ พุทธวงศ์. (2557). ความไม่เท่าเทียมกันทางการคลัง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับตำบล. Journal of Economics, (18)2, 1-22.

พิทวัส เอื้อสังคมเศรษฐ์ กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ และรวิพิมพ์ ฉวีสุข. (2562). การปฏิบัติทางการเกษตรอินทรีย์ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานด้านต้นทุนของเกษตรกรไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, (41)160, 102-135.

วีระศักดิ์ สมยานะ. (2555). การประยุกต์ใช้คุณธรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วีระศักดิ์ สมยานะ และกมลทิพย์ คำใจ. (2563). การบริหารงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคเหนือ The Budget Management of Local Administration Organizations in Northern Region. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), (27)3, 34-47.

วีระศักดิ์ สมยานะ และคณะ. (2562). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่อการพัฒนาชุมชนในเขตภาคเหนือ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

อภิชัย พันธเสน. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: พระอัจฉริยภาพและพระกรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

อภิชาติ ใจอารีย์. (2561). แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารปลอดภัยสำหรับชุมชน: บทสะท้อนจากภาคปฏิบัติการ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, (38)5, 1-17.

Banker, R. D., Charnes, A. and Cooper, W. W. (1984). Some models for estimating technical and scale inefficiencies in data envelopment analysis. Management Science, 30(9), 1078-1092.

Charnes, A., Cooper, W. W. and Rhodes, E. (1978). Measuring the efficiency of decision making units. European Journal Operational Research, 3(4), 339-338.

Coelli, T. J., Rao, D. S. P. and Battese, G. E. (1998). An introduction to efficiency and productivity analysis. Kluwer Academic Publishers, London.

Färe, R., Grosskopf, S. & Kokkelenberg, E.C. (1989). Measuring plant capacity, utilization and technical change: a non-parametric approach. International Economic Review, 30(3), 655-666.

Färe, R., Grosskopf, S. & Lovell, C.A.K. (1994). Production frontiers. United Kingdom, Cambridge University Press.

Loikkanen, H.A. and Susiluoto, L. (2005) Cost Efficiency of Finnish Municipalities in Basic Service Provision 1994-2002. Urban Public Economics Review, 4(4), 39-63.