การพัฒนาชุดความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์เกษตรในชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทราโดยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์ชุดความรู้ผลิตภัณฑ์เกษตรในชุมชนของเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อจัดทำชุดความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์เกษตรในชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างนวัตกรรมการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันธุรกิจเกษตรจากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ของจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและแปรรูปข้าว ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดฉะเชิงเทรา การวิเคราะห์สถิติในการวิจัยครั้งนี้ 1) ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2) วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
1. ผลการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์ชุดความรู้ผลิตภัณฑ์เกษตรในชุมชนของเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า เกษตรกรต้องการชุดความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดผลผลิตจาก “ข้าว” เป็น “แป้งข้าว” เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา และการใช้ผลผลิตทางการเกษตรในกลุ่มสมุนไพรที่นำไปสู่การถนอมอาหาร และเป็นของใช้ในครัวเรือน
2. ชุดความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์เกษตรในชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม (1) กลุ่มที่ 1 ผลิตภัณฑ์เบเกอร์รี่ ได้แก่ ซอฟท์คุกกี้ข้าวไรซ์เบอร์รี่แยมมะม่วง และคุกกี้ข้าวออแกนิค (2) กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์อาหาร และการถนอมอาหาร ได้แก่ น้ำพริกสมุนไพร และลูกชิ้นข้าวออแกนิค และ (3) กลุ่มที่ 3 ผลิตภัณฑ์อาบน้ำและบำรุงผิว ได้แก่ ครีมอาบน้ำสูตรน้ำนมข้าวไรซ์เบอร์รี่ โดยมีผลการประเมินระดับการยอมรับต่อผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยรวมในการยอมรับ อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.40)
3. แนวทางการสร้างนวัตกรรมการยกระดับความสามารถทางการแข่งขันธุรกิจเกษตรจากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยการเพิ่มคุณค่าเชิงธุรกิจ (Value Propositions) จากจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในชุมชน อีกทั้งขั้นตอนและกระบวนการผลิตที่เลือกวัตถุดิบท้องถิ่นที่มีคุณภาพ กระบวนการปลูกที่ปราศจากสารเคมี ส่งต่อให้กับผู้บริโภคด้วยความมั่นใจในคุณภาพ ผู้มีส่วนร่วมในชุมชนควรมีการนำเสนอเรื่องเล่า (Story telling) เพื่อเพิ่มคุณค่าเชิงธุรกิจของผลิตภัณฑ์ และ จัดการช่องทางในการจัดจำหน่าย (Channels) 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) การขายปลีก และขายส่งผลิตภัณฑ์หน้าร้าน 2) การออกบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์นอกสถานที่ และ 3 ) การโทรศัพท์สั่งจอง และช่องทางออนไลน์ ทั้งนี้ควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ในแหล่งที่มีผลิตภัณฑ์วางจำหน่าย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เอกสารอ้างอิง
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. (2562). โครงการบริการวิชาการเพื่อการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชากรในท้องถิ่นและพัฒนาผลิตภัณฑ์. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ณ พรรณ สินธุศิริ และคณะ. (2563). ช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวอินทรีย์: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนข้าวหอมมะลินครคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 82-107.
ทัศนีย์ อารมณ์เกลี้ยง . (2560). การวิจัยเพื่อพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรในชุมชนสู่ระบบอาหารปลอดภัยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
พรทิพย์ อ้นเกษม และคณะ. (2563). โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่จำนวน 30 ตำบล. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
พรพรรณ เกิดปราชญ์. (2563). แผนธุรกิจ Chic-Chom. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ยุพาพร รูปงาม. (2545). การรส่วนร่วมของข้าราชการสำนักงบประมาณในการปฏิรูป ระบบราชการ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รักษิต สุทธิพงษ์. (2559). เศรษฐศาสตร์การศึกษากับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 4(2), 2-15.
รัถยานภิศ รัชตะวรรณ และคณะ. (2561). กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 231-238.
สำนักส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชน. (2559). คู่มือการจัดการความรู้ชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน
Becker, G. (1964). Human Capital: A Theoretical and Empirical Analysis with Special Reference to Education. National Bureau of Economic Research, Inc.
Bouneaw, J. (2007). The Participation in Research for Locally. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Rural development Participation: Concept and Measures for Project Development committee Center for International Studies. Cornell University.
Creighton, J. L. (2005). The Public Participation Handbook: Making Better Decisions through Citizen Involvement. San Francisco: Jossey Bass.
Keith, D. D. (1972). Human behavior at work human relations and organization behavior. New York: McGraw-Hill.
Lucas Jr, R. E. (1988). On the mechanics of economic development. Journal of Monetary Economics, 22(1), 3–42.
Mankiw, N. G., Romer, D., & Weil, D. N. (1992). A contribution to the empirics of economic growth. The Quarterly Journal of Economics, 107(2), 407–437.
Mincer, J. A. (1974). Schooling, Experience, and Earnings. National Bureau of Economic Research
Romer, P.M. (1990). Endogenous technological change, Journal of Political Economy, 98(5, Part2), S71–S102.
Worapradit, S. (2010) . Community Participation Division of Information Technology Office of the Non- Formal and Informal Education Trat Province. Trat: Office of the Non-Formal and Informal Education Trat Province.