กลไกการพัฒนาเภสัชสมุนไพรจากกัญชาเพื่อเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากสู่เชิงพาณิชย์ สำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

พรรณทิพย์ ทองแย้ม
เทิดศักดิ์ ทองแย้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดการความรู้และถ่ายทอดการปลูก การขออนุญาตปลูกกัญชาสำหรับวิสาหกิจชุมชน 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์เภสัชสมุนไพรจากกัญชาเพื่อเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากสู่เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนและ 3) ศึกษากลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตเภสัชสมุนไพรจากกัญชาเพื่อเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากสู่เชิงพาณิชย์ จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) จำนวน 15 คน รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) จำนวน 9 คน ศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนการปลูกและแปรรูปพืชผักสมุนไพรเพชรบุรี อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า สายพันธุ์กัญชาที่เหมาะกับการปลูกเลี้ยงเพื่อใช้ผลผลิตจากใบ ได้แก่ สายพันธุ์ KD เกาะเต่า เพราะเป็นสายพันธุ์ผสมที่การเจริญเติบโตเหมาะกับพื้นที่ การปลูกกัญชาได้รับการดำเนินการหลังการถอดกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 การปลูกกัญชาในเชิงพาณิชย์สามารถทำได้โดยวิธีจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกัญชาเพื่อเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากสู่เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชนที่ตอบสนองการตลาดโดยแปรรูปผลผลิตจากใบพัฒนาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและการพักผ่อน ผลการศึกษาเครือข่ายวิสากิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนสามารถทำได้โดยกระบวนการมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน เพื่อความเข้มแข็งทางความรู้ การตลาดและรับประโยชน์ร่วมกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
ทองแย้ม พ., & ทองแย้ม เ. (2024). กลไกการพัฒนาเภสัชสมุนไพรจากกัญชาเพื่อเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากสู่เชิงพาณิชย์ สำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 11(2), 162–179. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/5933
บท
บทความวิจัย (Research Article)
ประวัติผู้แต่ง

พรรณทิพย์ ทองแย้ม, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

อาจารย์

เทิดศักดิ์ ทองแย้ม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

อาจารย์

เอกสารอ้างอิง

กิตติกวินท์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชาทางการแพทย์ และเชิงพาณิชย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในระยะเริ่มต้น. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 10(1), 147-166.

ชลัช กลิ่นอุบล. (2553). การจัดการความรู้และคุณลักษณะของชุมชนชาวนานักปฏิบัติเกษตรอินทรีย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 30(1), 11-23.

ทักษญา สง่าโยธิน. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 12(2), 11-25.

นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์ และนภาพรรณ พัฒนฉัตรชัย. (2561). การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีข้าวบ้านโจรก. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 13(46), 101-1111.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง การระบุยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2563. (2563, 8 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 290ง.

ปิยะวัฒน์ คำมูล. ประธานวิสาหกิจชุมชนการปลูกและแปรรูปพืชผักสมุนไพรเพชรบุรี หมู่ 4 ตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. สัมภาษณ์ 20 กันยายน 2566.

พรรณทิพย์ ทองแย้ม และเทิดศักดิ์ ทองแย้ม. (2566). กลไกการพัฒนาเภสัชสมุนไพรจากกัญชาเพื่อเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากสู่เชิงพาณิชย์สำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

พระมหาสมพงษ์ เกศานุช. (2558). ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของการบริหารการจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจอมแจ้งเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562. (2562, 18 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 19ก.

พิทยา สุนทรประเวศ. (2564). การพัฒนากัญชาทางการแพทย์ในวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการไทยวิจัยและการจัดการ, 2(1), 86-102.

พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ ญาณกร โท้ประยูร วนิดา สัจพันโรจน์ วรวิทย์ ประสิทธิผล พระปลัดสมชาย ดําเนิน วีระพล แจ่มสวัสดิ์ ชงโค แซ่ตั้ง สุจิณณา กรรณสูต และทักษิณา แสนเย็น. (2564). การประกอบธุรกิจกัญชาเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภาวะวิกฤติทางการเงินในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(2), 131-155.

ไพฑูรย์ วินิจ. รองประธานวิสาหกิจชุมชนการปลูกและแปรรูปพืชผักสมุนไพรเพชรบุรี หมู่ 4 ตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. สัมภาษณ์ 20 กันยายน 2566.

ไพทูล ช้างน้ำ. ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 ตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. สัมภาษณ์ 23 กันยายน 2566.

รัชนีกร ตรีสมุทรกุล. (2558). นวัตกรรมโมเดลธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรบรรเทาปวด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (2565, 21 กรกฎาคม). ประเมินมูลค่า ตลาดของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชง. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก https://cebf.utcc.ac.th/analysis.php?typeid=2

สมบูรณ์ แก้วเขียว. ประธานวิสากิจชุมชนดีดีกล้วยไม้และพันธุ์ไม้ ตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม. สัมภาษณ์ 17 กันยายน 2566.

สัญญา เคณาภูมิ. (2558). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(3), 68-85.

อนันต์ชัย อัศวเมฆิน. (2562ก, 14 กันยายน). นโยบายและทิศทางการใช้กัญชาทางการแพทย์. เจาะลึก ระบบสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก https://www.hfocus.org/content/2019/09/17729

อัตถพงศ์ เขียวแกร และคณะ. (2563). การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของวิสาหกิจโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองโอน ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

Moeller, Michael., Stolla, Cornelia and Doujak, Alexander. (2008). Strategic Innovation: Building New Growth Businesses. Neuwaldegg.

Nonaka, Ikujiro. and Takeuchi, Hirotaka. (2000). Classic work: Theory of organizational knowledge creation. New York: MIT Press.

Osterwalder, A., and Pigneur, Y. (2005) . Clarifying business model: Origins, Present, and future of the concept. Communications of the Association for Information Systems, 16, 1-25.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.