ความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยนาท Competence in Tourist Attraction Management of Local Administration in Chagwat Chai Nat
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานะการบริหารจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดชัยนาทในด้านต่างๆ ทั้งด้านการจัดการความรู้ การบูรณาการนโยบาย แผนงาน โครงการ การบริหารงบประมาณและการจัดเก็บรายได้ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การบริหารจัดการเครือข่ายในการท่องเที่ยวและการพัฒนาเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่และชุมชน รวมถึงการตลาดและการประชาสัมพันธ์ (2) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคทั้งด้านการบริหารจัดการความรู้ การบริหารงบประมาณรายได้ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วม (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว สามารถอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวให้มีความยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม เวทีเรียนรู้และการวิเคราะห์เอกสารในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า สถานะของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชัยนาทโดยภาพรวมได้รับการพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง และมีความหลากหลายของระดับความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ในด้านการจัดการความรู้ยังมีข้อจำกัด ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจ ทักษะ รวมทั้งการฝึกอบรมและเผยแพร่ ในด้านการบูรณาการนโยบาย แผนงาน โครงการ มีเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่เพียงพอ บางแห่งมีกรณีตัวอย่างที่มีความโดดเด่น มีรูปแบบบริหารจัดการเฉพาะพื้นที่ สามารถระดมงบประมาณและบริหารจัดการได้ดี ซึ่งในงานวิจัยได้ถอดบทเรียนไว้ สำหรับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยภาพรวม พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพที่ขาดแคลนงบประมาณ พัฒนาตามสภาพงบประมาณที่มี บางแห่งพัฒนาโดยขาดความละเอียดอ่อนต่อการอนุรักษ์ ขาดความเข้าใจ และประสบการณ์ ในด้านการบริหารจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยว พบว่าในระดับจังหวัดมีการหนุนช่วยบางพื้นที่ ในระดับอำเภอพบว่า บางพื้นที่มีความพยายามเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ ภายในแต่ละอำเภอ ซึ่งมีแนวโน้มและความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาให้เข้มแข็ง หากได้รับการสนับสนุนที่ดีต่อไปในด้านการพัฒนาเครือข่ายร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ งานวิจัยพบว่า การเชื่อมโยงเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่ยังมีไม่มาก และมีความต้องการกลไกในการส่งเสริมและพัฒนา นอกจากนี้ยังพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ ยังมีปัญหาอุปสรรคทั้งด้านการจัดการความรู้ การบริหารงบประมาณรายได้ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วม มีกรณีศึกษาบางพื้นที่ที่สามารถระดมการมีส่วนร่วมของชุมชนได้ เช่น เทศบาลตำบลหันคา เทศบาลตำบลวัดสิงห์ ที่ดึงการมีส่วนร่วมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยอาศัยกลุ่มผู้สูงอายุ สำหรับแนวทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ งานวิจัยได้วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาทั้งที่เป็นแนวทางร่วมและแนวทางเฉพาะพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ คือ รัฐควรให้การสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นและควรวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อนำแนวทางพัฒนาจากงานวิจัยไปทดลองพัฒนาในพื้นที่และวิจัยผลที่ได้ต่อไป
The objectives of this research are (1) to study the status of tourism management at all levels of local authorities in Chainat province in terms of knowledge management, integration of policy, plan, project, management of budget, the collection of revenue, eco-tourism development, management network of travel, develop networks with local educational institutions and communities and marketing and public relations; (2) to study the problems in terms of knowledge management and management of budget revenue. The tourism attraction can be developed with public participation in communities; (3) to study the development approach to enhance the management of corporate travel management section consistent with the needs of tourists in order to conserve resources for sustainable tourism.
The research is expected to benefit by developing the capacity of local authorities at all levels in Chainat province and other provinces. This research is a qualitative research used for data collection by interview, group discussion, document analysis and the observation. The results show that there are many limitations to develop many domains. But there are some cases that are outstanding as they are administration form only and can mobilize and manage the budget better as administrative organizations of Chainat province and Nong Noi municipality with low income because there is only one major attraction. We can concluded that there are many area need to develop to be well, if the province get good support with various educational institutions' networks. The research finds some areas are linked to an agreement with Chandrakaserm Rajabhat University. This research has collected many ways to develop the guideline that is available in many areas and specific areas in the dimensions of the tourism component and tourist products. This way they can concretely be applied to the real world. The knowledge can exchange inside the district and among other districts.
For policy recommendations, the government should support local authorities to manage in tourism areas. The local self-reliance cannot be achieved realistically due to lack of budget. The proposal is to continue the research in an action-oriented approach.