แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมูลไก่ กรณีศึกษา สมพรฟาร์ม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
The suitable guideline for an efficiency increasing management of chicken manures: A case study of Somporn Farm.
Keywords:
ฟาร์ม;ประสิทธิภาพ;มูลไก่ตากแห้ง, Farm;Efficiency;Chicken ManuresAbstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารจัดการมูลไก่ของสมพรฟาร์ม และเพื่อกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ มูลไก่ของสมพรฟาร์ม ใช้ในการศึกษาแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นายสมพร จิรธนากิจ พนักงาน และลูกค้าที่ซื้อมูลไก่ของสมพรฟาร์ม จำนวน 45 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ระดับความพึงพอใจผู้บริโภคเฉลี่ยมากที่สุด คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของมูลไก่ตากแห้ง มีระดับความพึงพอใจในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 พฤติกรรมของผู้บริโภคพบว่า ส่วนมากใช้มูลไก่กับข้าว เหตุผลที่ซื้อ สินค้าเป็นที่รู้จัก ความถี่ ในการซื้อ 2 ครั้งต่อเดือน จำนวน 21-50 กระสอบ ราคาที่ซื้อส่วนมาก 50 บาท ส่วนมากจะใช้เป็นปุ๋ยทำ การเกษตรและส่วนมากซื้อในฤดูร้อน ด้านอุปสรรคในการเพิ่มประสิทธิภาพ พบว่า ช่วงฤดูฝนอากาศ ชื้นมูลไก่แห้งยากส่งกลิ่นเหม็น ด้านปัญหาพบว่า ฟาร์มยังขาดเครื่องจักรในการผลิตมูลไก่ตากแห้งยัง ใช้แรงงานมากและขาดเครื่องปั่นไฟสำรองในช่วงไฟดับด้านการบริหารฟาร์ม พบว่า มีการวางแผนอยู่ 3 ระยะ โครงสร้างฟาร์มแบบรวมอำนาจเจ้าของฟาร์มบริหารและควบคุมทั้งหมด โดยให้ค่าตอบ แทนพนักงานเป็นรายเดือน แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพ 1) เพิ่มเครื่องจักรในการผลิตเป็นมูลไก่อัดเม็ดเพื่อแก้ ปัญหาเรื่องของกลิ่น ความชื้น และระยะเวลาในการจัดเก็บ 2) เพิ่มช่องทางในการขาย 3) เพิ่มเครื่อง ปั่นไฟฟ้าสำรองเพื่อรองรับการขยายฟาร์ม
The purposes of this research was to study the problems and the barriers in an efficient increasing management of chicken manures in Somporn Farm and to defined the processes of an efficient increasing management. The study used qualitative and quantitative methods. The population for this study was Mr. Somporn Jirathanakit employees and the customers (totally 45 people). The questionnaire and in depth interview were used to collect the data. The statistics used in the analysis were percentage, average, and standard deviation. The study indicated that, the optimization of dried chicken manure had a very good satisfaction level with an average of 3.57. In term of customer behavior, most of the customer bought chicken manures for rice farming as the chicken manures is well known for its benefits. The frequency of the purchase is two times per month with the amount of 21-50 sack each time and cost of 50 bath per sack. Mostly, the customers use the chicken manures as fertilizer for agriculture and mostly buy in the summer. The barriers in an efficiency increasing management found during the rainy season as the chicken manures were humidity and smell. In addition, the farm also lack of equipment to produce died chicken manures and lack of power backup generator. In term of management, there are 3 stage of management as the farm has been managed by centralized principle. In conclusion, the efficient increasing management including 1) Using machine to produce and resolve the problem about humidity, smell and moisture 2) expanding the distribution 3) adding the power backup generators to support the farm expansion.