ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551: ศึกษาการกระทำที่เป็นความผิดแต่มีเหตุยกเว้นโทษ

Execution issues of the anti-trafficking in persons Act B.E. 2551, study cases of offence, but no penalty

Authors

  • ชาติชาย วิริยะเจริญกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
  • พีรพจน์ ปิ่นทองดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ

Keywords:

ารป้องกันและปราบปราม;การบังคับใช้กฎหมาย;การค้ามนุษย์;พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, Prevention and Suppression;Law Enforcement;Trafficking in persons;Anti-Trafficking

Abstract

ปัญหาการค้ามนุษย์ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญที่มีมาอย่างยาวนานซึ่งไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะแต่ในประเทศไทย แต่ถือว่าเป็นอาชญากรรมระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ดังนั้นจึงมีความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์เพราะถือเป็นการละเมิดต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีทั้งในความร่วมมือระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาค โดยเข้าร่วมในความตกลงแบบทวิภาคีและพหุภาคี ในส่วนกฎหมายภายในประเทศไทยได้มีบทกฎหมาย หลายประการเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 เป็นต้น ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ได้กำหนดบทบัญญัติ การกระทำที่เป็นความผิดแต่มีเหตุยกเว้นโทษหรือศาลใช้ดุลพินิจไม่ลงโทษได้ ในกรณีที่ผู้บุพการีให้ผู้สืบสันดานทำงานหรือให้บริการที่เข้าลักษณะความผิดค้ามนุษย์ เพราะเหตุความยากจนเหลือทนทาน หรือเมื่อพิจารณาถึงสภาพความผิด หรือเหตุอันควรปรานีอื่นแล้ว ศาลจะไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดเลยก็ได้ บทกฎหมายดังกล่าวเป็นการขัดขวางต่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาความเสียหาย ผู้กระทำผิดไม่ยำเกรงต่อกฎหมายและเป็นช่องทางทุจริตในกระบวนการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ

Not only trafficking in persons is a significant problem in Thailand, but also it has long been a serious crime around the world. International cooperation occurs in order to combat such violation of human rights. Internationally, Thailand has joined both bilateral and multilateral collaboration and cooperation. Domestically, Thailandenforces laws, in particular, the Anti-Trafficking in Persons Act B.E2551 (2008) and the Anti-Trafficking in Persons Act (No.3) B.E. 2560 (2017) for the elimination of trafficking. According to theAnti-Trafficking in Persons Act (No.3) B.E. 2560, the ascendants, who force their own descendants into such crime due to absolute poverty or other extreme difficulties, are found guilty but not liable to punishment. Such legislation becomes one of the hurdles to prevent and suppress trafficking in persons in Thailand. Trafficking victims do not receive adequate treatments; the criminals are not afraid of laws. In addition, this loophole in the law allows corruption during prosecution processes.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-30

Issue

Section

บทความวิชาการ