การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ บ้านแม่พิมพ์ สำหรับนักศึกษา กศน.อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
Management development models to support teaching and learning sufficiency economy course using learning center Mae Pim House for students Kut Bak District Sakon Nakon
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหาร;การจัดการเรียนการสอน;เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ “บ้านแม่พิมพ์” สำหรับนักศึกษา กศน.อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ “บ้านแม่พิมพ์” สำหรับนักศึกษา กศน.อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน 15 คน นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร จำนวน 130 คน โดยดำเนินการระหว่างปีการศึกษา 2557-2558 ผลการวิจัยปรากฏ พบว่า 1) รูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้น มี 6 ขั้นตอน ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติในระดับค่อนข้างมากทั้ง 2 ด้าน 2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน พบว่า (1) นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.อำเภอกุดบาก 2557-2558 ในรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ “บ้านแม่พิมพ์” มีผลการเรียนเฉลี่ยในภาพรวม 70.9 คะแนน มีผลการเรียน “ผ่าน” จำนวน 129 คน คิดเป็น 99.23% ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ (2) ครูผู้สอนทั้ง 15 คน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจสูงที่สุดในขั้นที่ 3 การจัดทำหลักสูตร (Curriculum) (3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน ระดับค่อนข้างมาก โดยนักศึกษารู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ของตนเองสูงที่สุด