การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
Development of supervision model to develop Thai language teaching, grade 6 In Chiangrai primary educational area office 1
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการนิเทศ;การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย และ เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการวิจัยและพัฒนารูปแบบการนิเทศ ปีการศึกษา 2554–2556 กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 37 คน ผู้บริหารโรงเรียน 37 คน นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 จำนวน 862 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชาติ (O-NET) การวิจัยระยะที่ 2 ปีการศึกษา 2557-2559 ประชากรเป็นครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษาละ 106 คน ประชากรนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รวม 5,648 คน วิเคราะห์ข้อมูลค่าความสอดคล้อง (IOC) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย 1. ได้รูปแบบการนิเทศชื่อว่า SPEED Supervisory Model สร้างโดยทฤษฎีการมีส่วนร่วม วงจรคุณภาพ PDCA และแนวคิดการนิเทศแนวใหม่ ได้แก่ ขั้น S: Share vision & recourse ขั้น P: Participation ขั้น E: Evaluation ขั้น E: E-supervision และขั้น D: Development working process ผลการประเมินความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และครูได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ CAPDoD ได้แก่ C: Check A: Act P: Plan Do: Do และD: Development of Working Process มีผลการประเมินความถูกต้อง เป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ SPEED Supervisory Model กับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ในปีการศึกษา 2555-2556 พบว่า ผู้บริหารมีการบริหารจัดการตามรูปแบบการนิเทศ SPEED Supervisory Model ในระดับมาก ครูผู้สอนมีการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ CAPDoD ในระดับมาก นักเรียนมีผลการทดสอบ O-NET สูงขึ้น