เจตคติของพนักงานที่มีต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
Employees' attitude toward using robot in production system in automotive factory
คำสำคัญ:
หุ่นยนต์;เจตคติ;ระบบการผลิต;ปัจจัยส่วนบุคคล, robot;attitude;production system;personal factorsบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ (1) เพื่อศึกษาเจตคติของพนักงานที่มีต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน (2) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบการผลิตของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หุ่นยนต์ในระบบการผลิตที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ t-Testและ One-way ANOVAในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับเจตคติพนักงานที่มีต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบการผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 2. พนักงานที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีเจตคติที่มีต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบผลิตด้านขวัญและกำลังใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. พนักงานที่มีตำแหน่งงานแตกต่างกัน มีเจตคติที่มีต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบผลิตด้านขวัญและกำลังใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ แตกต่างกัน มีเจตคติที่มีต่อการนำหุ่นยนต์มาใช้ในระบบผลิตไม่แตกต่างกัน
The objectives of this research were(1) to study the level of automotive factory’s employee toward using robot in production system (2) to compare the the attitude level of automotive factory’s employee toward using robot in production system by personal factors. A sample of 129 employees who have been working in automotive factory and concern with industrial robot. Questionnaires were used as research instrument and data were analyzed by statistical program. The statistics used in this study were percentage, arithmetic mean, and standard deviation. t-Test and One-way ANOVA were used to test the hypotheses. The results showed that 1) The attitude of employees toward using robot in production systemwas at very good level. 2) Employees who had different work experience had statistically significant difference in the attitude toward using robot in production system regadingmoraleat the level of 0.01. 3) Employees who had different education had statistically significant difference in the attitude toward using robot in production system regarding morale at the level of 0.01. 4) Employees who had different other personal factors had no dfference in the attitude toward using robot in production system.