ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เวลาว่างกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร
Relationships between leisure and quality of life of elderly in BANGKOK
คำสำคัญ:
การใช้เวลาว่าง;ผู้สูงอายุ;คุณภาพชีวิต, Leisure;Elderly;Quality of lifeบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้เวลาว่างของผู้สูงอายุ ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมการใช้เวลาว่างของแต่ละรูปแบบกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชาย-หญิงที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานครที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขึ้นตอน จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามหาความสัมพันธ์ ระหว่างใช้เวลาว่างกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Index of congruence) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน มีค่าดัชนีสอดคล้องอยู่ในช่วง 0.67 - 1.0 และค่าความเชื่อมั่น จากผู้สูงอายุที่มีลักษณะใกล้เคียง จำนวน 30 คน ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Kr20 เท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ความถี่ ร้อยละ และการทดสอบ ไคสแคว์ ผลการวิจัยพบว่า: 1) ความถี่ที่ผู้สูงอายุเข้าร่วมการใช้เวลาว่างมากที่สุดในกิจกรรมภายในบ้าน คือ ดูโทรทัศน์ (87.75%) กิจกรรมท่องเที่ยวคือ เดินเที่ยวตามศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า (53.5%) กิจกรรมทางกาย คือ การเหยียดยืดร่างกาย (74.25%) และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ คือ การฟังเทศน์/ศึกษาธรรมะ (21%) 2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ (66.75%) มีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับกลาง และ 3) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับการเข้าร่วมการใช้เวลาว่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกิจกรรมภายในบ้าน ได้แก่ การดูโทรทัศน์ การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และการสวดมนต์ ไหว้พระ กิจกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ การท่องเที่ยวตามศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า สถานที่สำคัญทางศาสนา และการรับประทานอาหารนอกบ้าน กิจกรรมทางกาย ได้แก่ การเข้าร่วมการเดิน วิ่งเพื่อสุขภาพ และการเหยียดยืดร่างกาย และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ การเข้าร่วม ฟังเทศน์ ศึกษาธรรมะ
The objectives of this study were to study the frequency of leisure activity participation of the elderly, levels of quality in elderly life, and the relationships between leisure participation patterns and levels of quality of life in elderly. Four hundred samples were selected by multi-stage random sampling from male and female elderly who lived in Bangkok. The research instrument was a self-administered questionnaire which was verified by 5 leisure experts to find the content validity. The index of item – objective congruence was in the range of 0.67-1.0. Meanwhile the reliability of the questionnaire was tried-out by 30 elderly, the alpha coefficient of Kr20 was 0.89. Data were analyzed by using frequency, percentage, and Chi-square test. Findings were found that:-1) The elderly participated in leisure mostly in at-home activities were watching television (86.75), tourism activities were going to shopping at the department store (53.50%), physical activities were stretching (74.25%), and creative activities were attending to Buddhist teaching (21%); 2) most of elderly (66.75%) had moderate level in quality of life; and 3) there were significant relationship between the level of quality of life and leisure participation patterns of the elderly at .05 in at-home activity in the items of watching television, reading newspaper magazine, chanting and paying respect to Buddha; tourism activities were going to shopping in the department store, important religious places, and eating out at restaurants; physical activities were walking jogging for health, and stretching; and creative activity was attending to the Buddha teaching.