การจัดการความรู้และการเสริมอำนาจพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท มาเยคาว่า(ประเทศไทย) จำกัด

Knowledge Management and Employee Empowerment: A Case Study of Mayekawa (Thailand) Company Limited

ผู้แต่ง

  • เฉลิมพันธ์ ศิริมาก นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจนานาชาติ คณะการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

การเสริมอำนาจพนักงาน การจัดการความรู้ การเข้าถึงอำนาจ การได้รับโอกาส, Employee Empowerment, Knowledge Management, Formal Power, Access to Opportunity

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการเสริมสร้างอำนาจของพนักงาน บริษัท มาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด (2) เพื่อศึกษาระดับการจัดการความรู้ในบริษัทมาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด  และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้และการเสริมอำนาจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานบริษัท มาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 104 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.968 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการทดสอบสมมติฐาน

 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการเสริมสร้างอำนาจของพนักงานบริษัท มาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับสูง (2) ระดับการจัดการความรู้ใน บริษัท มาเยคาว่า (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับสูง (3) การจัดการความรู้มีความสัมพันธ์กับการเสริมอำนาจพนักงานในเชิงบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการไปวางแผนเสริมสร้างพลังอำนาจและการจัดการความรู้ให้กับพนักงานในบริษัท เพื่อส่งเสริมบุคลากรในบริษัทให้มีความรู้ความสามารถที่ทันต่อยุคสมัยรวมทั้งยังส่งเสริมความเจริญในหน้าที่การงานอีกด้วย

The objectives of this research were to study (1) the level of employee empowerment in Mayekawa Company (2) the level of knowledge management in Mayekawa Company, and (3) the relationship between knowledge management and employee empowerment. The sample was 104 employees at Mayekawa Company. Simple random sampling method was used to collect data. The questionnaire with reliability of 0.968 was used as research instrument. Statistics used for data analysis were percentages, arithmetic mean, and standard deviation. Pearson’s Product Moment Correlation was used for hypothesis testing.

The results showed that (1) the level of employee empowerment in Mayekawa Company was high (2) the level of knowledge management in Mayekawa Company was high (3) knowledge management was strongly correlated with employee empowerment at statistical significance level of 0.01. The results of this research could be applied for empowerment and knowledge management planning in order to encourage knowledge and career advancement of employees.

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2019-12-31