ผลกระทบของการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเชิงรุก ที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • นิตยา โพธิ์ศรีจันทร์ คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • ศิริวรรณ เพชรไพร คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

การบัญชีบริหารเชิงรุก , ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลกระทบของการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเชิงรุกที่มีต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครพนม งานวิจัยนี้มุ่งเน้นที่การประยุกต์ ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเชิงรุกเกี่ยวกับความสามารถของกิจการในการการนำข้อมูลทางการบัญชีมามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารงาน เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินงานต่างๆ ตามระบบ และบรรลุเป้าหมาย งานวิจัยนี้ได้นำเสนอ 4 มิติใหม่ของการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเชิงรุก ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดการองค์กร ด้านการควบคุม และด้านการตัดสินใจ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนครพนม ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีผู้ตอบกลับจำนวน 89 ราย อัตราการตอบแบบสอบถามคือ 65.93% ผลของการวิเคราะห์การถดถอย แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารเชิงรุก ด้านการควบคุมและด้านการตัดสินใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับประสิทธิภาพการดำเนินงาน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). คลังข้อมูลธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2564, จาก https://datawarehouse.dbd.go.th/

พูลสุข นิลกิจศรานนท์ และปิยะนุช สถาพงศ์ภักดี. (2560). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2560-62 ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (เอกสารงานวิจัยของธนาคารกรุงศรี). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/f1e844b6-74af-44df-9ba4-23dc9d0f7427/IO_Modern_Trade_2017_TH.aspx.

Alvarez, P., Sensini, L., Bello, C., & Vazquez, M. (2021). Management accounting practices and performance of SMEs in the hotel industry: evidence from an emerging economy. International Journal of Business and Social Science, 12(2), 24-35.

Armstrong, J.S. & Overton, T.S. (1977). Estimating non-response bias in mail surveys. Journal of Marketing Research, 14(3), 396-402.

Chalmers, D.K., Sensini, L., Shan, A., (2020). Working capital management (WCM) and performance of SMEs: Evidence from India, International Journal of Business and Social Science, 11(7), 57-63.

Churchill, G. A. J. (1979). A paradigm for developing better measures of marketing constructs. Journal of Marketing Research, 16, 67-73.

Hair, J.F.Jr., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kim, M., Schmidgall, R.S., Damitio, J.W. (2017). Key managerial accounting skills for lodging industry managers: the third phase of a repeated cross-sectional study. International Journal of Hospitality and Tourism Administration, 18(1), 23-40.

Krejcie, R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Nunnally, J. C. & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Sensini, L. (2020). Working capital management and performance: evidence from Italian SME’s. International Journal of Business Management and Economic Research (IJBMER), 11(2), 1749-1755.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29