การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม|THE PRODUCTION COST OF UNDERGRADUATES, FACULTY OF MANAGEMENT SCIENCE, PIBULSONGKRAM RAJABHAT UNIVERSITY

ผู้แต่ง

  • ภัทรสิริ กุนเดชา

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ต้นทุน, ต้นทุนการผลิตบัณฑิต, ความคุ้มค่า, จุดคุ้มทุน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วย และจุดคุ้มทุนรายหลักสูตรของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณของแต่ละหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามและจำนวนนักศึกษาเต็มเวลามาทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ค่า ร้อยละ และค่าเฉลี่ย เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนรวม ต้นทุนต่อหน่วย จุดคุ้มทุนและความคุ้มค่าในการดำเนินงานของหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต มีต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อปีมากที่สุด รองลงมาคือหลักสูตรบัญชีบัณฑิต นิเทศศาสตรบัณฑิต เศรษฐศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต ตามลำดับ โดยทุกหลักสูตรมีต้นทุนทางตรงเฉลี่ยต่อปีน้อยกว่าต้นทุนทางอ้อม ในส่วนของต้นทุนการผลิตบัณฑิตต่อหน่วยพบว่าหลักสูตรที่มีต้นทุนต่อหน่วยการผลิตบัณฑิตมากที่สุดคือศิลปศาสตรบัณฑิต (67,291.28 บาท/คน) รองลงมาคือเศรษฐศาสตรบัณฑิต (58,260.17 บาท/คน) นิเทศศาสตรบัณฑิต (41,186.35 บาท/คน) บริหารธุรกิจบัณฑิต (35,074.48 บาท/คน) และบัญชีบัณฑิต (29,409.26 บาท/คน) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าทุกหลักสูตรมีความคุ้มค่าในการดำเนินงานเนื่องจากมีจำนวนนักศึกษาสูงกว่าจุดคุ้มทุนในปัจจุบันยกเว้นหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต ผลจากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นสารสนเทศสำคัญในการบริหารจัดการงบประมาณหลักสูตรและแผนการรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตบัณฑิตได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนเป็นแนวทางในการประเมินความคุ้มค่าของหลักสูตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28