ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานสู่ทักษะกีฬาพื้นฐานสำหรับเด็ก
คำสำคัญ:
ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน, ทักษะกีฬาพื้นฐาน , เด็กบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวและเคลื่อนที่โดยใช้ร่างกายเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดทักษะจำเป็นที่สำคัญกับมนุษย์ทุกคน ซึ่งการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ควรได้รับการฝึกตั้งแต่เด็ก โดยแต่ละลำดับขั้นของการเคลื่อนไหวหรือการฝึกนั้นควรมีความสัมพันธ์กับช่วงอายุและพัฒนาการการเจริญเติบโตของร่างกายตลอดจนนำทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือฝึกฝนเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ร่างกายได้อย่างฉลาดและมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อพัฒนาความสามารถของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาความเชื่อมั่น ความคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาทักษะเฉพาะกีฬา และพัฒนาไปสู่การแสดงความสามารถทางด้านกีฬาขั้นสูงสุด ทั้งนี้หากไม่ได้เข้าสู่การฝึกซ้อมเพื่อเป็นนักกีฬา ประสบการณ์จากการฝึกฝนและเรียนรู้การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานเหล่านั้น จะเป็นประสบการณ์และทักษะที่สามารถส่งเสริมให้มนุษย์มีกิจกรรมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายตลอดการดำรงชีวิต ทำให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกายอันส่งผลให้เป็นมนุษย์ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
เจริญ กระบวนรัตน์. (2552). ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2558). ทักษะพื้นฐานการเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ. 41(1), 5-16.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2559). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาสมองและความสามารถในการรับรู้เรียนรู้. วารสารสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการ, 42(2), 16-24.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างไรให้มีคุณภาพสำหรับเด็ก. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 43(2), 6-18.
ณัฐพร สุดดี. (2562). ทักษะและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสำหรับเด็กเล็ก (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐิกา เพ็งลี. (2558). ความสำคัญของการสอนทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์สาร. 9(2), 103-109.
ณัฐิกา เพ็งลี. (2562). ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(3), 196-216.
มณฑิชา อุไรพงษ์, กรรวี บุญชัย, และวิชาญ มะวิญธร. (2563). ผลของโปรแกรมกิจกรรมทางกายที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวและสมรรถภาพทางกลไกของเด็กอายุ 3-5 ปี. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 46(1), 133-142.
สิทธิพงษ์ ปานนาค. (2564). การประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการวิจัยเชิงคุณภาพสู่การวิจัยในชั้นเรียนทางพลศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 16(1), 129-136.
อภิวัฒน์ ปานทอง. (2560). การวางแผนระยะยาวสำหรับพัฒนานักกีฬา. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14(64), 15-22.
Barnett, L. M., Stodden, D., Cohen, K. E., Smith, J. J., Lubans, D. R., Lenoir, M., ... & Morgan, P. J. (2016). Fundamental movement skills: An important focus. Journal of Teaching in Physical Education, 35(3), 219-225.
Brien, W. O., Belton, W. & Issartel, J. (2016). Fundamental movement skill proficiency amongst adolescent youth. Physical Education and Sport Pedagogy, 26(6), 557-571.
Higgs, C., Way, R., Harber, V., Jurbala, P., & Balyi, I. (2019). Long-term development in sport and physical activity 3.0. Retrieved October 30, 2021, from https://sportforlife.ca/wp-content/uploads/2019/06/Long-Term-Development-in-Sport-and-Physical-Activity-3.0.pdf
Oliver, M., Schofield, G. M., & Kolt, G. S. (2007). Physical activity in preschoolers. Sports Medicine, 37(12). 1045-1070.
Robin, S. Vealey & Melissa, A. Chase. (2016). Best Practice for Youth Sport: Science and Strategies for Positive Athlete Experiences. (1st ed). Human Kinetics.
Vitoria. (2009). Fundamental movement skills: a manual for classroom teachers. Retrieved October 27, 2021, from https://fusecontent.education.vic. gov.au/ 6f9265d9-afef-4a9a-9228-05a039225985/fmsteacher.pdf
Williams, H. G., Pfeiffer, K. A., O'neill, J. R., Dowda, M., McIver, K. L., Brown, W. H., & Pate, R. R. (2008). Motor skill performance and physical activity in preschool children. Obesity, 16(6), 1421-1426.